วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทความพิเศษ: พลังชุมชนท้องถิ่น : แนวทางการปฎิรูปประเทศไทย

คอลัมน์: บทความพิเศษ: พลังชุมชนท้องถิ่น : แนวทางการปฎิรูปประเทศไทย
บุญยิ่ง ประทุม
อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนของสังคม หลังจากที่รัฐบาลได้มีการประกาศถึงแผนปรองดอง 5 ข้อ โดยสรุป คือ 1) การปกป้องสถาบันหลักของชาติคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ 2) การแก้ไขปัญหาส่วนโครงสร้างความไม่เสมอภาคและความเหลื่อมล้ำของสังคม 3) การมีกลไกที่เกี่ยวกับสื่อสารมวลชนให้มีบทบาทในการลดความขัดแย้งของสังคม 4) การมีกลไกการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเหตุการณ์วิกฤติการเมือง 5) การแก้ไขประเด็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอย่างเป็นระบบ ทั้งหมดเป็นแนวทางในการปฏิรูปประเทศที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันคิดและแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับประเทศไทย ที่ผ่านมาได้มีนักวิชาการตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้เสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศไว้หลากหลายแนวทาง ผู้เขียนขอเสนอมุมมองการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้วยพลังของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของชุมชนท้องถิ่นได้มีกระแสความตื่นตัวและการขับเคลื่อนสังคมในทิศทางต่างๆ และการพัฒนาองค์กรภาคประชาชนได้มีการปรับเปลี่ยนไปจากบริบทเดิมๆ ที่สำคัญไม่ใช่เป็นเพียงการจัดตั้งกลุ่มองค์กรชุมชนขึ้นมาเท่านั้น แต่ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้และพลังปัญญาของชุมชนท้องถิ่น ที่มีความเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ท้องถิ่น วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และยกระดับองค์ความรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในระดับชุมชนได้ไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ซึ่งในอดีตนักวิชาการหรือนักพัฒนาส่วนใหญ่ได้ยึดถือแนวคิดทฤษฎีของตะวันตกเป็นหลักนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศนั้นได้หันกลับมาให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ของชุมชนที่มีอยู่ในประเทศซึ่งถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำมาปรับใช้กับกระบวนการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
ดังนั้น การขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้วยพลังชุมชนท้องถิ่น จึงมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาชุมชน และเมื่อมาพิจารณาถึงคำว่า “การพัฒนาชุมชน” (Community Development) ซึ่งมิได้มีความหมายเหมือนกับ การพัฒนาโดยทั่วไป แต่เป็นคำที่มีความหมาย เป้าหมาย ปรัชญา แนวคิด หลักการและการดำเนินการที่แตกต่างไปจากคำว่า “การพัฒนา” (Development) โดยทั่วไปก็คือ ปรัชญาการพัฒนาชุมชนมุ่งพัฒนาและให้ความสำคัญกับคนมากที่สุด แต่การพัฒนาโดยทั่วไปมุ่งพัฒนาทางด้านวัตถุ เศรษฐกิจหรือพื้นที่เป็นหลัก, การพัฒนาชุมชนเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนอย่างมาก แต่การพัฒนาโดยทั่วไปไม่ได้ให้ความสำคัญกับประชาชนมากเท่าที่ควร หรือเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมพอเป็นพิธีหรือเพื่อให้ครบขั้นตอนเท่านั้น, การพัฒนาชุมชนมีแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองและปกครองตนเอง โดยรัฐคอยให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ในขณะที่การพัฒนาโดยทั่วไปมีส่วนสำคัญทำให้ประชาชนต้องพึ่งพารัฐหรือบุคคลภายนอก, การพัฒนาชุมชนเน้นขั้นตอนการดำเนินการ เช่น การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด การตัดสินใจ การวางแผน ลงมือปฏิบัติและการประเมินผล แต่การพัฒนาโดยทั่วไปมุ่งที่ผลสำเร็จของงานเป็นหลัก เป็นต้น ทำให้เห็นทิศทางของการพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมาที่ได้นำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1-10 มาเป็นทิศทางในการพัฒนาประเทศไทย และแผนพัฒนาฯ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนามาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน คือ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 โดยมุ่งพัฒนาคนเป็นหลักและนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย และมีความสอดคล้องกับกระบวนการพัฒนาชุมชนที่ทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งถือว่าเป็นแนวทางที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาประเทศ ดังเช่น อาจารย์สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ได้กล่าวถึงลักษณะของชุมชนเข้มแข็งไว้โดยสรุป 4 ประการ คือ 1) เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (learning community) กล่าวคือ การที่ชุมชน (คนในชุมชน) มีการเรียนรู้ และรู้เท่าทันข่าวทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งการที่ชุมชนมีการเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ 2) เป็นชุมชนที่มีการจัดการตนเอง (community management) ด้วยระบบการบริหาร จัดการในกิจกรรมที่สำคัญ 4 ประการ คือ การวางแผน การจัดกระบวนการขององค์กรภายในชุมชน การลงมือปฏิบัติตามแผนงาน และมีการประเมินผล 3) เป็นชุมชนที่มีจิตวิญญาณ (spirituality) กล่าวคือ ชุมชนมีจิตสำนึก มีจิตวิญญาณ ซึ่งอาจหมายถึงความภักดี ความรัก ความหวงแหน ความรู้สึกเป็นเจ้าของในชุมชน โดยมีสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกันในชุมชน 4) เป็นชุมชนที่มีสันติภาพ (peaceful) กล่าวคือ เป็นชุมชนที่มีความสงบสุขและคนในชุมชนมีจิตใจที่เยือกเย็น มีคุณภาพ และมีคุณธรรม
ดังนั้น แนวทางการปฏิรูปประเทศและการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทุกภาคส่วนของสังคมปัจจุบัน โดยใช้กระบวนการพัฒนาชุมชน และองค์กรชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกและเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นหลัก ส่งเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) ของกลุ่มองค์กรชุมชน ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ ตลอ
ดจนเชื่อมโยงไปถึงกระบวนการพัฒนาประเทศได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการกำหนดวิถีทางในการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศ โดยอาศัยพลังของชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน ถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในกระบวนการพัฒนาประเทศและทิศทางการปฏิรูปประเทศไทย.

ที่มา : http://www.ryt9.com/s/tpd/928784

บทความเรื่องแนวทางการพัฒนาชุมชนฝึกฝนเศรษฐกิจพอเพียง

แนวทางการพัฒนาชุมชนฝึกฝนเศรษฐกิจพอเพียง  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
                ชุมชนฝึกฝนเศรษฐกิจพอเพียง  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  เป็นชุมชนที่เป็นเสมือนแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาเศรษฐกิจพอเพียง  สิ่งที่จะพัฒนาชุมชนจึงควรสอดคล้องกับการศึกษา  ซึ่งในช่วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา  ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตามเหตุปัจจัยและจำนวนสมาชิกของชุมชนหรือศักยภาพของชุมชนที่จะสามารถก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองให้ได้
แนวทางการพัฒนาชุมชน
ควรเริ่มต้นที่การพัฒนาบุคคลของชุมชน ควบคู่กับกิจกรรมของชุมชน คือบุคคลากรภายในชุมชนจะต้องเป็นผู้ทีมีจิตในการพัฒนา  คือ พัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็งในด้านของคุณธรรมที่สูงขึ้นไปและพัฒนาศักยภาพการงาน  โดยผ่านการศึกษาที่ต่อเนื่อง ซึ่งการศึกษานี้ไม่จำเป็นที่จะต้องให้บุคคลภายนอกมาให้ความรู้มากนัก  แต่คือการศึกษาที่ คิด ทำ และเกิดขึ้นภายในชุมชน
                การพัฒนาด้านจิตใจนั้น ให้ทุกคนฟังธรรมและตรวจสภาวะจิตใจของตนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1ครั้ง เพื่อให้เกิดการขัดเกลาตนเองและการขัดเกลาร่วมกัน ส่วนการพัฒนางานนั้นควรพัฒนาจากส่วนกลางโดยการประชุมร่วมกันเพื่อให้ได้รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่แตกต่างกันออกไป และเป็นสิ่งที่ชุมชนมีความจำเป็นและเป็นความต้องการของชุมชน การประชุมเป็นประชาธิปไตยที่ให้ทุกคนมีโอกาส มีสิทธิเห็นควรในการปฏิบัติ เพื่อสร้างกิจกรรมที่สร้างสรรค์มีประโยชน์แก่ชุมชน
                กิจกรรมของชุมชนที่มีอยู่แล้วและปฏิบัติกันมา คือ ด้านกสิกรรม ที่มีการพัฒนาพื้นที่มาตลอด 4 ปีทำให้สภาพดินมีความสมบูรณ์ขึ้นมาก สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มคือ การที่สามารถปลูกพืชไว้ใช้และเพียงพอต่อกาสรบริโภคต่อบุคคลากรของชุมชน แนวทางที่จะพัฒนาคือ ควรมีการปลูกพืชที่เป็นไม้ยืนต้นที่สามารถเก็บใบ ดอก ฝัก ไว้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้น่าจะมีการปลูกพืชที่ดูแลง่าย ใช้น้ำน้อย และมีพืชตามฤดูกาล เพื่อรองรับสมาชิกของชุมชนได้อย่างสมบูรณ์
                ด้านการแปรรูป เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของชุมชนเพราะชุมชนมีความจำเป็นในการใช้จ่าย  การพัฒนางานแปรรูปคือ งานแปรรูปที่มีผลผลิตที่ดีมีคุณภาพอยู่แล้ว ควรจะทำต่อไป  ส่วนงานแปรรูปที่ผลิตแล้วไม่คุ้มค่าก็ควรจะเลิกหรือหาทางในการพัฒนาให้ดีขึ้นก่อน การแปรรูปจึงไม่จำเป็นต้องทำหลายอย่างแต่ทำสิ่งที่มีให้ดีและมีผู้รับผิดชอบอย่างจริงจัง ก็น่าจะประสบความสำเร็จได้
อย่างไรก็ดีการจะทำให้เกิดการพัฒนานั้นทุกคนต้องมีจิตในการให้อภัย เสียสละยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง มีความจริงจัง ใฝ่รู้ใฝ่เรียนสม่ำเสมอและมีความรับผิดชอบจึงจะสำเร็จได้


ที่มา : https://sites.google.com/site/xibaxey/bthkhwam-reuxng-naewthang-kar-phathna-chumchn-fukfn-sersthkic-phx-pheiyng

การพัฒนาชุมชนแบบพึ่งตนเอง

        พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนของการกระจายอำนาจ พ.ศ2542 มีผลทำให้หน่วยงานของรัฐพยายามปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องพระราชบัญญัติดังกล่าว ประชาชนในชุมชนก็มีความตื่นตัวในการที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนมากขึ้น การกระจายอำนาจลงสู่ชุมชนทำให้การพัฒนาชุมชนขึ้นอยู่กับประชาชนในท้องถิ่นทั้งสิ้นและผู้ที่ทำหน้าที่สนับสนุน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวคิดและโครงการ วิชาการก็คือเจ้าหน้าที่ภาครัฐในชุมชชนบทนั่นเอง ดังทนงศักด์ ได้กล่าวถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ว่าต้องกระตุ้นให้ประชาชนได้รู้ ได้เข้าใจ ถึงแนวคิด หลักการวิเคราะห์ ปัญหาของชุมชน และให้ประชาชนตระหนักว่าเป็นปัญหาร่วมกันของทุกคนในชุมชน มิใช่ของคนใดคนหนึ่ง (ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคนอื่น ๆ .2534: 18) การกระทำเช่นนี้จะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าตนเองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอภิปราย ถกเถียง พิจารณาปัญหาต่างๆ ในชุมชนของตนเองด้วย จะรู้สึกร่วมรับผิดชอบในการดำเนินโครงการ เหมือนเป็นปัญหาของตนโดยแท้จริง
การพัฒนาชุมชนไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้วยการจัดกิจกรรมในด้านใดย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานการสนับสนุน ให้ประชาชนพึ่งตนเองได้เป็นประการสำคัญ หากสิ่งใดเกินกว่าความสามารถของประชาชนเช่นทางด้านวิชาการและวัสดุที่จำเป็น รัฐบาลย่อมเข้าให้การช่วยเหลือเพื่อโครงการ กิจกรรมของราษฎรบรรลุผลด้วยดี ทั้งนี้โดยวิธีการ “ทำงานกับประชาชน (work with people) หมายถึงร่วมคิด ร่วมปรึกษา และร่วมกันทำงาน ไม่ใช่ทำให้ประชาชน (Work for people) แต่ฝ่ายเดียว ” (จิตจำนงค์ กิติกีรติ, 2525 : 54)
แนวคิดการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งตนเองเป็นแนวคิดที่เหมาะสมที่เหมาะสมที่จะใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมของกลุ่มประเทศทางตะวันตกได้ดี เพราะอาศัยพื้นฐานวัฒนธรรมทางตะวันตกเป็นแนวคิดหลัก และทฤษฎีการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งตนเองเป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นจากการได้ประจักษ์ถึงความบกพร่องของการพัฒนาตามกระแสหลัก เช่นทฤษฎีทางพุทธศาสตร์ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง (ทฤษฎีใหม่) ซึ่งอาคม กล่าวว่าทฤษฎีการพัฒนาแบบพึ่งตนเองเป็นทางเลือกเพื่อการพัฒนาประเทศอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของกลุ่มประเทศโลกที่สาม จากนักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมศาสตร์หลายๆประเทศ โดยอาศัยรากฐานการสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่ผ่านมาว่า ภายใต้กระบวนการพัฒนาของประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชียบางประเทศและประเทศแถบละตินอเมริกา ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาแท้จริงหรือไม่แต่ผลปรากฎจากการที่ได้กล่าวถึงไว้แล้วในทฤษฎีความด้อยพัฒนาและการพึ่งพิงนั้นก็พบว่าประเทศในโลกที่สามต้องตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตลอดมา การกระจายความเจริญกระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการปกครอง ความมั่งคั่งก็ตกอยู่กับผู้นำประเทศเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ความยากจนของประชาชนในชนบทก็ยังปรากฏอยู่ทั่วไป ถึงแม้ผู้นำประเทศจะพยายามแสดงให้เห็นถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการพิจารณาจากรายได้ประชาชาติ ซึ่งเป็นการมองเพียงภาพรวมระดับประเทศที่มิได้คำนึงถึงความเป็นจริงระดับบุคคลว่า รายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้นนั้นได้กระจายไปทุกระดับหรือไม่ (อาคม ใจแก้ว, 2534 : 75)
แนวคิดการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งตนเองเป็นสิ่งที่นักพัฒนาและเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ชุมชนชนบทควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ที่มา : จิตจำนงค์ กิติกีรติ. 2525. การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพ : คุณพินอักษรกิจ
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคนอื่น ๆ. 2534. การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพ : บพิธการพิมพ์
อาคม ใจแก้ว. 2534. ทฤษฎีการพัฒนาประเทศ. ปัตตานี : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บทความ การพัฒนาชุมชนแออัดที่ผิดทาง (มาโดยตลอด)

ในการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด มีความเข้าใจผิดบางประการ ทำให้แนวทางการแก้ไขปัญหา ไม่อาจบรรลุผลได้ และกลายเป็นการกระทำที่ใช้ภาษีอากรของประชาชนไปอย่าง "ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ" ความจริงเป็นอย่างไร โปรดพิจารณาเหตุผลในแง่มุมที่ท่านอาจไม่เคยได้ยินต่อไปนี้:

            1. ชุมชนแออัดโตเร็วกว่าการแก้ไข?
            ข้อความข้างต้นนี้ตรงกันข้ามกับความจริงโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ชุมชนแออัดลดจำนวนลงอย่างน่าตกใจมาโดยตลอด ที่ผ่านมามีชุมชนแออัดเกิดใหม่บ้างแต่ก็น้อยมาก ไม่เหมือนเมื่อ 40 ปีก่อนที่ที่ดินราคาถูก เจ้าของที่ดินเลยแบ่งเป็นแปลงย่อยให้ชาวบ้านเช่าที่ปลูกบ้านจนกลายเป็นชุมชนแออัด สมัยนี้ที่ดินราคาแพงลิบลิ่ว เจ้าของที่ดินทั้งภาครัฐและภาคเอกชนส่วนใหญ่คงไม่ปล่อยปละละเลยที่ดินของตนให้ใครเช่าหรือบุกรุกได้ง่าย ๆ
            รัฐบาลทักษิณที่ผ่านมา ได้รับข้อมูลเท็จว่า ชุมชนแออัดผู้มีรายได้น้อยมีมากมายมหาศาล จนเกิดโครงการ "บ้านเอื้ออาทร" และ "บ้านมั่นคง" แต่ความจริง ความต้องการที่อยู่อาศัยมีน้อยมาก สิ่งที่สร้างขึ้นกลับกลายเป็นการ "เอื้ออาทร" ต่อผู้รับเหมาและผู้ร่วมทุนโครงการมากกว่า แทนที่จะสร้างบ้านตามความต้องการจริง กลับสร้างตามความต้องการลวง หรือสร้างเกินกว่าความต้องการ ขายไม่ออก
            ผมเป็นคนพบชุมชนแออัดมากที่สุดนับพันแห่งในกรุงเทพมหานครในปี 2528 และต่อมาสำรวจชุมชนแออัดในจังหวัดภูมิภาค พบว่า ชุมชนแออัดทั่วประเทศมีไม่มากนัก รวมประชากรเพียงไม่เกิน 1% ของทั้งประเทศ ระหว่างที่ผมสำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งไม่อยากให้มีชุมชนแออัดในท้องที่ก็จะไม่นำเสนอข้อมูล แต่บางแห่งอยากได้งบประมาณมาพัฒนาท้องถิ่น ก็นำชุมชนเขตเมืองของตนมารวมเข้าไว้ด้วย

            2. คนจนจำเป็นต้องมีบ้าน?
            หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามจะยัดเยียดให้ชาวบ้านมีบ้านเป็นของตนเอง แต่ความจริงชาวบ้านจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในชุมชนแออัดยังไม่มีความพร้อม ในชุมชนแออัดเองก็ยังมีประชากรราวหนึ่งในสามเป็นผู้เช่าบ้าน ในเมื่อชาวบ้านยังไม่มีความพร้อมที่จะมีบ้าน หากเรายัดเยียดบ้านให้ เขาก็อาจไม่เห็นค่า และขายสิทธิเพื่อย้ายออกไปอยู่ที่อื่น
            ยิ่งกว่านั้น ในการย้ายชาวบ้านจากชุมชนแออัด นักวางแผนพยายามจะให้ชาวบ้านไปด้วยกันทั้งที่แต่ละคนอาจมีความต้องการต่างกัน บ้างอาจอยากได้ค่าชดเชยไปหาที่อยู่ใหม่ บ้างก็อาจต้องการไปซื้อหรือเช่าบ้านที่อื่น การนำพาชาวบ้านไปร่วมกันจึงเป็นสิ่งที่พึงทบทวน

            3. คนจนเข้าไม่ถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน?
            มักมีการกล่าวอ้างว่า ชาวบ้านเข้าไม่ถึงระเบียบสินเชื่อของสถาบันการเงินทั่วไป โดยนัยนี้ระเบียบการอำนวยสินเชื่อควรได้รับการผ่อนปรนเพื่อผู้มีรายได้น้อย ข้อเสนอนี้เกิดขึ้นจากสมมติฐานที่ว่าผู้มีรายได้น้อยไม่โกง เพียงแต่ไม่มีหลักประกันเพียงพอ อย่างไรก็ตามการยกเว้นเรื่องมาตรฐานหลักประกันสำหรับผู้มีรายได้น้อย อาจนำไปสู่ช่องโหว่ของการอำนวยสินเชื่อ ที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบสถาบันการเงินได้
            ถ้าผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถขอสินเชื่อได้ ก็แสดงว่ายังไม่ควรขอ หาไม่อาจเกิดปัญหาแก่ทุกฝ่ายได้ ถ้าทุกคนในสังคมอ้างเช่นนี้ วินัยทางการเงินก็คงไม่ต้องมี

            4. คน (อยาก) จนไม่เบี้ยวหนี้หรอก?
            ความจริงที่ไม่ค่อยเปิดเผยก็คือ ในโครงการแบ่งปันที่ดิน (Land Sharing) หลายแห่งที่คุยว่าประสบความสำเร็จจนทั่วโลกมาดูงานนั้น ชาวบ้านที่ได้รับสิทธิเป็นเจ้าของที่ดินในชุมชนแออัดเหล่านี้กลับไม่ยอมผ่อนชำระจนในที่สุดทางราชการต้องตัดบัญชีเป็นหนี้สูญ เร็ว ๆ นี้ชาวบ้านในชุมชนแห่งหนึ่งมีสัญญาการผ่อนชำระค่าที่ดินเพียงตารางวาละ 1 บาท ชาวบ้านส่วนมากก็ยัง "ชักดาบ" จนกลายเป็นหนี้เสียไปแทบทั้งชุมชน คนที่ยอมผ่อนตามสัญญาคงกลายเป็นคนโง่ไปในที่สุด
            ชาวบ้านเบี้ยวหนี้เพราะเห็นว่าทางราชการคงยอมผ่อนปรน ก็เลยขาดวินัยทางการเงิน แต่ถ้ากู้เงินนอกระบบ ชาวบ้านคงไม่กล้าแม้แต่จะคิด เรื่องการเบี้ยวหนี้เช่นนี้แทบไม่เคยได้เปิดเผยแก่สังคมได้รับรู้

            5. การออมทรัพย์คือทางออก?
            ที่ผ่านมา มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า ชาวบ้านรู้จักเก็บออม เพื่อนำเงินมาซื้อที่อยู่อาศัย ภาพเช่นนี้อาจดูน่ารัก แต่ในหลาย ๆ กรณีไม่ประสบความสำเร็จ (แต่ปิดเงียบ) กลายเป็น "ปาหี่" เงินที่ออมได้เพียงเล็กน้อย กู้ไปใช้สอยยังแทบไม่พอ แต่ที่ชาวบ้านสามารถสร้างบ้านได้ ก็เพราะหน่วยงานบางแห่ง ให้กู้เงินโดยไม่มีหลักประกันแก่ชาวบ้านโดยแทบไม่เกี่ยวกับการออมทรัพย์
            ภาพแห่งความสำเร็จอันงดงามของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่เป็นตัวอย่างบางแห่ง คงไม่สามารถนำมาใช้ได้กับการออมทรัพย์เพื่อนำเงินมาสร้างชุมชนแออัดใหม่

            6. "ร่วมกันสร้าง" คือทางออก?
            เคยมีความคิดกึ่งโรแมนติกให้ชาวบ้านค่อย ๆ สร้างบ้านของตนเอง ใช้ดิน ใช้วัสดุที่พอมีภายในพื้นที่สร้างกันขึ้นมา คงคล้ายกับชาวอาฟริกันสร้างกระท่อมหรือบ้านดินเป็นของตนเอง แนวคิดนี้เผยแพร่มา 25 ปีแล้ว
            ความคิดอย่างนี้ไม่มีโอกาสสำเร็จ เพราะมูลค่าของแรงงานคนไทยมีค่าสูงเกินกว่าจะมาสร้างบ้านหรือ "ถ้า" ของตนเอง การซื้อบ้านในตลาดเปิดที่มีการจัดการดีกลับถูกกว่าการสร้างเอง แต่ถ้าเป็นในอาฟริกาที่ไม่มีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดี ผู้คนก็อาจต้องสร้างบ้านเอง

            7. ชาวบ้านไม่ได้ "ชุมชน" ที่ดี
            การปรับปรุงชุมชนแออัดเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ชุมชนแออัดยังไงก็ดูไม่ดี คนที่มีฐานะดีขึ้นก็คงอยากย้ายออกจากชุมชนเพื่อให้ลูกหลานมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น การมีโครงการปรับปรุงชุมชนแบบ "บ้านมั่นคง" แม้ชาวบ้านจะมีบ้านเป็นของตนเอง แต่เมื่อได้แล้วชาวบ้านก็หมดไฟที่จะดำเนินการพัฒนาต่อ ต่างคนต่างอยู่เป็นส่วนตัวเป็นสำคัญ
            ปรากฏการณ์นี้อาจสร้างความผิดหวังกับนักสร้างชุมชน แต่ถือเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านอาจร่วมกันทำอะไรบางอย่างด้วยอารมณ์ร่วมแล้วก็จบกัน แต่ความจริงก็คือ การปรับปรุงฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน แต่ละครัวเรือน ไม่ใช่กิจกรรมรวมหมู่

            8. กระจายรายได้ให้ชาวบ้าน?
            ท่านทราบหรือไม่ งบประมาณเพื่อการปรับปรุงชุมชนแออัดเป็นเงินถึง 68,000 บาทต่อครอบครัว งบพัฒนาสาธารณูปโภคเป็นเงิน 25,000 - 35,000 บาทต่อครัวเรือน และงบประมาณเงินกู้สร้างบ้านใหม่แก่ชาวชุมชนแออัด เป็นเงินถึง 150,000 - 200,000 บาท นี่นับเป็นงบประมาณมหาศาลที่แม้แต่ผู้มีรายได้น้อยนอกชุมชนแออัด ก็ยังไม่มีโอกาสเข้าถึง และการนี้ผู้มีรายได้ปานกลางนอกชุมชนจึงกลายเป็นผู้ด้อยโอกาสไปโดยปริยาย
            ก็เพราะการโฆษณาว่า "ชุมชนแออัดโตเร็วกว่าการแก้ไข" หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการนี้ จึงได้งบประมาณไปดำเนินการมหาศาลถึงเพียงนี้ ทำไปทำมาผู้ที่ได้ประโยชน์จะเป็นใครกัน หรือนี่ถือเป็นการกระจายรายได้ให้ประชาชนในรูปแบบใหม่ที่เอาเงินไปแบ่ง ๆ กันใช้

            ประเทศไทยเจริญขึ้นมากในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา เพราะเศรษฐกิจดีขึ้น ในปี 2500 ประมาณ 43% ของครัวเรือนในกรุงเทพมหานครอยู่ในบ้านที่มีก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐาน ปัจจุบันนี้เหลืออยู่ไม่ถึง 5% เท่านั้น ในขณะที่ในช่วง 200 ปีแรกของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีบ้านเพียง 1 ล้านหน่วย แต่ตลอดช่วงปี             2525-2550       เรามีบ้านเกิดใหม่อีกเกือบ 3 ล้านหน่วย แทบทั้งหมดคือบ้านจัดสรร ไม่ใช่ชุมชนแออัด

            เราควรจะเร่งสร้างบ้านที่มีคุณภาพแทนชุมชนแออัดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านและสังคมโดยรวม อย่าทำให้ให้การช่วยเหลือชาวบ้านกลายเป็นการลูบหน้าปะจมูก ที่คนที่ได้ประโยชน์โดยตรงกลับเป็นคนหรือหน่วยงานที่ได้งบประมาณมหาศาลมาช่วยเหลือ ไม่ใช่ชาวบ้าน

หมายเหตุ:
[1] ดร.โสภณ พรโชคชัย เป็นผู้ที่ทำวิจัยต่อเนื่องเกี่ยวกับชุมชนแออัด โดยเป็นคนแรกที่ค้นพบชุมชนแออัดถึง 1,020 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และสำรวจชุมชนแออัดในภูมิภาคทั่วประเทศ เคยได้รับมอบหมายจากองค์การสหประชาชาติหลายหน่วยงานให้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองและชุมชนแออัด เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ ยังเป็น ผู้แทนสมาคมประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ (IAAO) ประจำประเทศไทย และกรรมการสภาที่ปรึกษา Appraisal Foundation ซึ่งก่อตั้งโดยสภาคองเกรสเพื่อการควบคุมการประเมินค่าทรัพย์สินในสหรัฐอเมริกา Email: sopon@thaiappraisal.org
[2] มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มุ่งให้ความรู้แก่สาธารณชนด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาเมือง ปัจจุบันเป็นองค์กรสมาชิกหลักของ FIABCI ประจำประเทศไทย ถือเป็นองค์กรเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่มีกิจกรรมคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยจนได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiappraisal.org/


ที่มา:  http://prachatai.com/journal/2007/12/15166

กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่น

กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่นดร.อภิชาติ ดำดี         ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค โดยมีรูปแบบขององค์กรท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป อาทิ องค์กรท้องถิ่นที่มีความเก่าแก่ยาวนานมากที่สุดอย่างเทศบาล ถัดมาคือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์กรท้องถิ่นที่เกิดขึ้นหลังสุดอย่างองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งการปกครองพิเศษอีก 2 รูปแบบคือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
          ความสำเร็จในการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นจึงฝากไว้กับผู้นำองค์กรท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ กระบวนทัศน์ (paradigm) หรือแนวความคิดอย่างเป็นระบบในการพัฒนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำองค์กรท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญ
          จากการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการผสมผสานกับประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสคลุกคลีกับองค์กรท้องถิ่นในฐานะวิทยากรและสื่อสารมวลชนที่ทำงานด้านท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน พอจะสังเคราะห์ออกมาเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่นดังต่อไปนี้
          1. การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) การพัฒนาที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึงเป็นการพัฒนาที่ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและสังคมที่ดีงาม เข้มแข็งพอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นและเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ
          2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) การพัฒนาที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องติดยึดอยู่กับตำราหรือทฤษฎีการพัฒนาแบบตะวันตกที่อาจไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นจึงเป็นแนวทางที่นักบริหารการพัฒนาพึงให้ความสำคัญ เป็นความจำเป็นที่ผู้นำองค์กรท้องถิ่นต้องรู้เท่าทัน มองเห็นโลกทั้งใบ แต่ต้องเข้าใจท้องถิ่นของตนเองอย่างแท้จริง เพื่อออกแบบการพัฒนาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพ “ภูมิสังคม” ของท้องถิ่นนั้นๆ “Think Globally, but Act Locally” (Peter Drucker)
          3. ความเสมอภาค (Equity) เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตยที่ให้ความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน กระบวนทัศน์ในการพัฒนาก็เช่นเดียวกัน ประชาชนทุกคนต้องมีความเท่าเทียมกันในการได้รับโอกาสจากการพัฒนา นโยบายสาธารณะและโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ขององค์กรท้องถิ่นจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค ไม่ใช่กำหนดมาจากพรรคพวก, หัวคะแนนหรือฐานคะแนนเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นก็ต้องคำนึงถึงโครงสร้างของการกระจายรายได้ควบคู่ไปกับความเจริญเติบโตด้วย
          4. การกระจายอำนาจ (Empowerment) สังคมโลกปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการกระจายอำนาจทั้งในระดับโลก ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ด้วยความเป็นโลกแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน การกระจายอำนาจจึงเป็นแนวคิดสำคัญสำหรับการพัฒนาทุกระดับ ภายใต้หลักการที่ว่าไม่มีผู้ปกครองใดที่เข้าใจ ใกล้ชิด และเข้าถึงประชาชนและการแก้ปัญหาได้ดีเท่ากับผู้ปกครองที่มาจากประชาชนด้วยกันเอง การบริหารการพัฒนายุคใหม่จึงต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (Participation) เพื่อให้การพัฒนาและการแก้ปัญหาสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง และวิธีการพัฒนานั้นต้องเป็นแบบจากล่างขึ้นบน (Bottom Up) ไม่ใช่แบบบนลงล่าง (Top Down Management) เหมือนอย่างในอดีต
          5. ความคุ้มค่า (Pruductivity) หมายถึงการพัฒนาต่างๆนั้นมีความคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้รับกลับมา ในภาคเอกชนนั้นมักจะเน้นการบริหารที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) คือทำถูกวิธี (Do Thing Right) เพื่อให้ต้นทุนต่ำสุด ได้กำไรสูงสุด แต่ในภาครัฐหรือองค์กรท้องถิ่นที่มีประโยชน์สาธารณะ (Public Benefit) เป็นเป้าหมายนั้นควรเน้นการบริหารที่มีประสิทธิผล (Effective) คือทำถูกเรื่อง (Do right Thing) โดยมุ่งที่ประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก โครงการพัฒนาบางอย่างอาจไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ แต่ถ้ามีความคุ้มค่าในเชิงสังคม, วัฒนธรรม, การศึกษา หรือคุณภาพชีวิตของประชาชนก็อาจดำเนินการได้
          กระบวนทัศน์ในการพัฒนาเหล่านี้ ต้องอยู่ภายใต้ร่มธงใหญ่คือ หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือหลักในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี อัน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม (Participation) / ความโปร่งใส (Transparency) / การตรวจสอบได้ (Accoutability) / นิติธรรม (Rules of Law)
          นอกจากนี้แล้วในหลักพระพุทธศาสนาก็ยังมีหลักธรรมหลายเรื่องที่เหมาะสม อย่างยิ่งที่สังคมไทยควรจะน้อมนำมาใช้เป็นภูมิปัญญาในการประพฤติปฏิบัติเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งในส่วนที่เป็นผู้นำชุมชนและสมาชิกของชุมชน อาทิ
          คุณธรรมสำหรับผู้นำชุมชน ประกอบด้วยราชสังคหะ คือ ทำนุบำรุงทวยราษฎร์ให้ประชาชาติดำรงอยู่ในเอกภาพและสามัคคีด้วยหลักธรรมที่เรียกว่า “ราชสังคหวัตถุ” (หลักการสงเคราะห์ประชาชนของพระราชา) 4 ประการ คือ
          1. สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงพืช พันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์
          2. ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุง ข้าราชการ ด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถ และจัดสวัสดิการให้ดี เป็นต้น
          3. สัมมาปาสะ ผูกประสานปวงประชา คือ ผดุงผสานประชาชนไว้ด้วยนโยบาย ส่งเสริมอาชีพ เช่น จัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรม หรือ ดำเนินกิจการต่าง ๆ ไม่ให้ฐานะเหลื่อมล้ำห่างเหินจนแตกแยกกัน
          4. วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ คือ รู้จักพูด รู้จักชี้แจงแนะนำ รู้จักทักทาย ไถ่ถาม ทุกข์สุข ราษฎรทุกชั้น แม้ปราศรัยก็ไพเราะน่าฟัง ทั้งประกอบด้วยเหตุผลเป็น หลักฐาน มีประโยชน์ เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาเสริมความ สามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจดี ความเชื่อถือ และความนิยมนับถือ
          คุณธรรมสำหรับสมาชิกของชุมชน คือมีส่วนในการปกครอง โดยปฏิบัติตามหลักการร่วมรับผิดชอบ ที่จะช่วยป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียวที่เรียกว่า อปริหานิยธรรม 7 ประการ คือ
          1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พบปะปรึกษาหารือกิจการงาน (ที่พึงรับผิดชอบ ตามระดับของตน) โดยสม่ำเสมอ
          2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจ ทั้งหลายที่พึงทำร่วมกัน
          3. ไม่ถืออำเภอใจใคร่ต่อความสะดวก บัญญัติวางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อัน มิได้ตกลงบัญญัติวางไว้ และไม่เหยียบย่ำล้มล้างสิ่งที่ตกลงวางบัญญัติกันไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นอยู่ในบทบัญญัติใหญ่ที่วางไว้เป็นธรรมนูญ
          4. ท่านผู้ใดเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์ยาวนาน ให้เกียรติเคารพนับถือท่าน เหล่านั้นมองเห็นความสำคัญแห่งถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง
          5. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรี มิให้มีการ ข่มเหงรังแก 
          6. เคารพบูชาสักการะเจดีย์ ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ อันเป็นเครื่อง เตือนความทรงจำ ยินดีในการที่จะอยู่อย่างสงบ เร้าให้ทำดี และเป็นที่รวมใจ ของหมู่ชน ไม่ละเลยพิธีเคารพบูชา อันพึงทำต่ออนุสรณ์สถานเหล่านั้นตามประเพณี
          7. จัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครองอันชอบธรรมแก่บรรพชิต ผู้ทรงศีล ทรงธรรมบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักใจและเป็นตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน เต็มใจต้อนรับและหวังให้ท่านอยู่โดยผาสุก ความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และปรารถนาดีต่อมนุษยชาติ และการต้อนรับผู้มาเยือนด้วยความยินดีให้มี ความสุข
          อปริหานิยธรรมนี้เป็นหลักธรรมสำหรับการมีส่วนในการปกครอง ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม


ที่มา :  http://www.oknation.net/blog/damdee/2009/06/05/entry-1

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มาตรการควบคุมสัตว์เลี้ยงในเมืองไทย

         ในปัจจุบันต้องยอมรับว่ามนุษย์ไม่สามารถอยู่เพียงลำพังคนเดียวได้ จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือไม่ก็หาสัตว์เลี้ยงน่ารักๆ หลากชนิด ตัวเล็กใหญ่ หนึ่งหรือสองตัวมาเลี้ยงเป็นเพื่อนแก้เหงา หรือเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นงานอดิเรก หรือใช้ประโยชน์จากสัตว์เพื่อไว้ขายหรือการค้า ซึ่งสัตว์แต่ละชนิดแต่ละประเภทก็ย่อมมีข้อแตกต่างกันไปทั้งในเรื่องของการเลี้ยงดู สถานที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ทั้งแบบมีข้อจำกัดและแบบมีอิสระได้ เรื่องของอาหารสัตว์ การเอาใจใส่ดูแลจากผู้เลี้ยง การให้วัคซีน ฯลฯ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากมนุษย์เราเท่าไหร่นัก
        สัตว์เลี้ยงทุกชนิดที่เรานำมาเลี้ยงทั้งแบบกักขังหรือแบบปล่อย อาจจะนำปัญหามาสู่ผู้เลี้ยง ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคจากสัตว์ไปสู่คน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แอนแทรกซ์ ไข้หวัดนก โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น รวมทั้งอันตรายที่เกิดจากถูกสัตว์ทำร้าย เช่น สุนัขรุมกัดเด็ก ซึ่งเป็นข่าวให้พบเห็นประจำ นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ในเรื่องของกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ เสียงรบกวนจากการร้องของสัตว์ รวมถึงน้ำเสียจากการล้างคอกสัตว์ หรือตัวสัตว์เป็นต้น
        พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในหมวด ๖ กำหนดให้มีการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ โดยให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่นในการออกข้อกำหนดท้องถิ่น เพื่อกำหนดเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ทั้งในเรื่องประเภทของสัตว์ที่ห้ามเลี้ยง กรรมวิธีการเลี้ยง การป้องกันเหตุรำคาญ และการปล่อยสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะด้วย ข้อกำหนดของท้องถิ่นที่กำหนดเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์สามารถแบ่งได้ ๓ ลักษณะดังนี้
        ๑. เขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์บางชนิดโดยเด็ดขาด คือ เขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่มีความเจริญ เป็นชุมชนหนาแน่น เป็นสถานที่หรือแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะให้มีการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร เป็นต้น และเมื่อได้มีการกำหนดเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ชนิดใดในเขตพื้นที่ใดก็ตาม จะมีผลให้ประชาชนแม้มีที่เป็นของตนเองก็ไม่อาจเลี้ยงสัตว์ที่ถูกกำหนดในพื้นที่นั้นได้ เช่น กำหนดห้ามเลี้ยงหรือปล่อย โค กระบือ ม้า แพะ ในบริเวณรอบหนอง บึง ที่เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชน เพราะจะทำให้แหล่งน้ำสกปรก
        ๒. เขตให้เลี้ยงสัตว์บางชนิดไม่เกินจำนวนที่กำหนด ต้องกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์ที่ห้ามให้ชัดเจนด้วย เช่น ในเขตชุมชน อาคารพาณิชย์ที่มีผู้อาศัยอย่างหนาแน่นไม่สมควรให้มีสุนัขจำนวนเกินกว่า ๒ ตัวต่ออาคาร ๑ คูหา เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ก่อเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ข้างเคียง หรือการกำหนดให้เขตพื้นที่ของท้องถิ่นนั้นเป็นเขตห้ามเลี้ยงสุกรเกินกว่า ๕๐ ตัว ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของ ปัญหาว่าต้องมีจำนวนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ
        ๓. เขตให้เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์บางชนิดได้โดยมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการนำมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการทางวิชาการมากำหนด เพื่อมิให้เกิดปัญหาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สุขลักษณะหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ เช่น กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด อาคารสถานที่ คอกสัตว์ ตัวสัตว์ การกำจัดมูลสัตว์และสิ่งปฏิกูลต่างๆ การบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการควบคุมโรคติดต่อ โดยการฉีดวัคซีน แล้วแต่กรณี หรือการนำสุนัขออกไปเลี้ยงนอกบ้านต้องล่ามโซ่ไปด้วย หรือกำหนดให้ผู้เลี้ยงสุกรตั้งแต่ ๒๐ ตัวขึ้นไป ต้องอยู่ห่างจากชุมชนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร หรือมีแนวพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตร จากโรงเลี้ยง และต้องจัดทำระบบกำจัดมูลสุกรอย่างน้อย ๑ ถัง
        เมื่อราชการส่วนท้องถิ่นออกเป็นข้อกำหนดของท้องถิ่นแล้ว ก็จะมีผลบังคับให้ประชาชนในเขตพื้นที่นั้นๆ ต้องปฏิบัติตาม หากใครฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท และในการกำหนดเขตควบคุมดังกล่าวจะต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน และต้องขึ้นอยู่กับปัญหา และต้องมีเหตุมีผล มีข้อเท็จจริงตามสภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ หากไม่มีเหตุผล ประชาชนย่อมมีสิทธิฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนข้อกำหนดของท้องถิ่นนั้นได้

ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

beethoven vs อ.สมบัติ

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

วีดีโอ ชุมชนเป็นสุข




http://www.youtube.com/watch?v=8qRhwAZDjoI

ความหมายของชุมชน



ชุมชนคืออะไร






คำว่า "ชุมชน" ไม่ปรากฏว่านำมาใช้กับหน่วยทางสังคมของไทยในสมัยโบราณ ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น ศิลาจารึก พงศาวดาร กฎหมายตราสามดวง รวมทั้งในหนังสือและตราสารต่างๆที่โต้ตอบกันระหว่างเมืองหลวงคือกรุงเทพฯ กับหัวเมืองมณฑลทางภาคเหนือและภาคอีสาน ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ไม่พบว่ามีการใช้คำๆนี้ แม้แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ก็ไม่ปรากฏคำว่า "ชุมชน" เช่นกัน หากพิจารณาจากหลักฐานการจารึกทั้งในศิลาจารึกสุโขทัย (หลักที่ ๑) และในจารึกล้านนา เราจะพบคำว่า "บ้าน" "ถิ่น" และ "ถิ่นฐาน" นอกจากนี้ในคำไทยโบราณ เรายังพบคำว่า "กว้าน" หรือ "บาง" ที่ใช้เรียกการตั้งถิ่นฐานของบ้านเรือนตามริมคลอง และริมแม่น้ำในภาคกลางและภาคตะวันออก
นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยาสันนิษฐานว่า คำว่า "ชุมชน" นั้น น่าจะเริ่มนำมาใช้ในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๕ โดยบัญญัติมาจากคำว่า "community" ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากว่า ในระยะนั้นอิทธิพลของวิชาสังคมศาสตร์จากประเทศตะวันตกได้แพร่ขยายมาสู่ประเทศไทย เพื่อใช้ในการศึกษาสภาพสังคมชนบท ทั้งโดยนักวิจัยชาวต่างชาติและนักวิชาการชาวไทยที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศด้วยทุนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (ทุนยูเสด - USIAD) จากนั้นรัฐบาลจึงได้ใช้คำนี้เรื่อยมา จน พ.ศ. ๒๕๐๕ รัฐบาลได้ตั้งหน่วยงานขึ้นหน่วยหนึ่งในสังกัดกระทรวงมหาดไทยขึ้นมีชื่อว่า "กรมการพัฒนาชุมชน" และด้วยเหตุที่หน่วยงานที่มีคำว่า "ชุมชน" มักเป็นหน่วยงานด้านการปกครอง ความหมายของคำว่าชุมชนในระยะแรก จึงนำไปใช้ในความหมายที่ใกล้เคียง หรือซ้อนทับกับคำว่า "บ้าน" หรือ "หมู่บ้าน" ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองที่มีขอบเขตพื้นที่ที่แน่นอนภายใต้การควบคุมของรัฐ






ความหมาย
เมื่อหน่วยงานด้านการปกครองใช้คำว่า "ชุมชน" แทนคำว่า "บ้าน" หรือ "หมู่บ้าน" ความหมายของคำว่า "ชุมชน" โดยนัยนี้จึงสื่อความหมายไปในทำนองเดียวกับคำว่า "บ้าน" หรือ "หมู่บ้าน" ที่หมายถึง หน่วยการปกครองระดับล่างสุดของพื้นที่ อีกทั้งยังมีขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือทางกายภาพที่แน่นอน มีประชากรจำนวนหนึ่ง และมีระบบกลไกการปกครองที่เชื่อมต่อกับกลไกของรัฐอื่นๆตามลำดับชั้น คือ หมู่บ้าน-ตำบล-อำเภอ-จังหวัด-ประเทศ
ชุมชนตามความหมายดังกล่าวนี้มีข้อจำกัดในแง่มุมความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้านของ "สังคม" "วัฒนธรรม" และ "ทรัพยากรธรรมชาติ" ของชุมชน เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน โดยที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และเขตการปกครอง แต่เกี่ยวข้องกับความเป็นเครือญาติ การมีวัฒนธรรมของชนเผ่าเดียวกัน การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน การใช้ป่าชุมชนร่วมกัน และการใช้แหล่งน้ำร่วมกัน เป็นต้น อันเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สามารถจำกัดได้ด้วยขอบเขตทางกายภาพใดๆ
ความหมายของคำว่า "ชุมชน" อีกความหมายหนึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางการต่อสู้เพื่อต่อต้านกระแสการพัฒนาประเทศที่จะพยายามผลักดันประเทศให้ก้าวไปสู่ความทันสมัย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เน้นการลงทุนอุตสาหกรรม การเปิดเสรีทางการค้าและระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งกระบวนการพัฒนาแบบนี้มักได้รับการกำหนดและตัดสินใจโดยคนจำนวนน้อย หากแต่ผลของการพัฒนาได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตของคนจำนวนมากในสังคม จึงมีกระแสการรวมกลุ่มของประชาชนจากที่ต่างๆ โดยเปิดกว้างให้ทุกคนที่มีแนวคิดคล้ายๆกันมาทำงานร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เป็นการเรียกร้อง เพื่อมีส่วนร่วมกับกลไกของภาคราชการและต่างชาติ ในการกำหนดและรับผิดชอบอนาคตของตัวเองและสังคมที่อาศัยอยู่ อาจกล่าวได้ว่า ชุมชนในความหมายนี้เรียกได้ว่าเป็น "ชุมชนในจินตนาการ" (imagination community) อันเป็นกระบวนการของภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวในอุดมการณ์เชิงอำนาจ เพื่อถ่วงดุลกับอำนาจของรัฐ ธุรกิจเอกชน และต่างชาติ





 

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ชุมชนเป็นสุข


             สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  กำลังจัดระดมความคิดเรื่องการพัฒนาโครงการส่งเสริมชุมชนสุขภาพดีหรือชุมชนเป็นสุข เมื่อต้องการเห็นคนทั้งมวลมีสุขภาวะหรือสุขภาพดี ก็จำเป็นต้องคิดถึงหน่วยทางสังคมให้ครบ เช่น

-ครอบครัวสุขภาพดี
-ชุมชนเป็นสุข
-เมืองน่าอยู่
-โรงเรียนสุขภาพ
-ที่ทำงานสุขภาพ
-สังคมเป็นสุข
-โลกที่มีสันติภาพ

              การเคลื่อนไหวเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทยกำลังพัฒนาวิธีทำงาน ในการสร้างเสริมสุขภาพในทุกหน่วยทางสังคมดังกล่าวข้างต้น การที่จะมีสุขภาพดี ในแต่ละหน่วยจะต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างกาย-ใจ-สังคม-เศรษฐกิจ-สิ่ง แวดล้อม-วัฒนธรรม-ศาสนธรรม จนทำให้เกิดดุลยภาพในชีวิต ดุลยภาพคือความเป็นปกติสุขและความยั่งยืน การพัฒนาสมัยใหม่ตามแบบตะวันตกถือเอาเงินเป็นใหญ่ แบบแยกส่วนจากชีวิต-สังคม-สิ่งแวดล้อม-วัฒนธรรม-ศาสนธรรม จึงก่อให้เกิดการทำลายองค์ประกอบเหล่านี้ และการเสียดุลยภาพอย่างขนานใหญ่ ก่อให้เกิดทุกขสภาวะโดยทั่วไป จึงขอเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านสนใจสุขภาพหรือสุขภาวะ โดยนัยแห่งภาวะการเชื่อมโยงระหว่างชีวิต-สังคม-เศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม-วัฒนธรรม-ศาสนธรรมอย่าง สมดุล เพื่อความสุขและความยั่งยืนโดยถ้วนหน้า


http://doctor.or.th/node/2587

วีดีโอ ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่...เกิดขึ้นได้อย่างไร




http://www.youtube.com/watch?v=W_suOnq0V0M

แหล่งความรู้


ชุมชนคือแหล่งความรู้

โดย: ดร.อุทัย ดุลยเกษม


เมื่อกลไกการเรียนรู้แบบแนวนอน คือชุมชนเรียนรู้จากกันเองมีน้อยมาก แล้วเราจะคาดหวังให้ชุมชนน่าอยู่ได้อย่างไร

ผมได้มีโอกาสคลุกคลีกับชาวชนบทบ่อยครั้ง และในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ชาวชนบทที่ผมได้มีโอกาสคลุกคลีหรือทำงานด้วยระยะสั้นมักจะอยู่ในระดับ แกนนำ ของชุมชน เช่น อาจจะเป็นผู้นำกลุ่มสตรี สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้นำกลุ่มอาชีพในชุมชน เป็นต้น คนเหล่านี้มาจากหลายอาชีพ ตั้งแต่ทำนา ทำไร่ ทำประมง ค้าขายเล็กๆน้อยๆ ตลอดจนเป็นคนงานรับจ้าง
ผมพบว่าชาวชนบทเหล่านี้ส่วนมากผ่านการศึกษาในระบบโรงเรียนเพียงระดับประถม ศึกษาเท่านั้น แต่เรียกได้ว่าทุกคนมีความสามารถในการเขียนการอ่านได้พอสมควร แกนนำชุมชนกลุ่มนี้อาจจะเป็นชาวชนบทที่มีลักษณะพิเศษกว่าชาวบ้านอื่นๆก็ได้ เพราะมีผู้นำเอาใจใส่ในกิจการภายในชุมชน เป็นชุมชนที่มักมีเจ้าหน้าที่องค์การพัฒนาเอกชน (NGO) เข้าไปร่วมทำงานด้วย หรือไม่ก็มีหน่วยงานราชการบางหน่วยเข้าไปสนับสนุนเป็นการจำเพาะ เช่น กรมการศึกษานอกโรงเรียนเข้าไปอบรมบางด้าน หรือกระทรวงสาธารณสุขเข้าไปอบรมเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น


เหตุที่ผมเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องก็เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้ได้ชักชวนไป เป็นวิทยากร บางครั้งก็เข้าไปสนทนากับชาวบ้าน ทุกครั้งที่ได้เข้าชุมชน ผมเรียนรู้สิ่งต่างๆมากทีเดียว บางคนอาจคิดว่าผมเข้าไปในฐานะ ผู้ให้ (ความรู้) ชาวบ้าน แต่ในความเป็นจริง ผมเองก็ได้เรียนรู้จากชาวบ้านไม่น้อยเลยจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ผมสังเกตว่าระยะหลังๆนี้ กลไกการเรียนรู้ภายในชุมชนชนบทของเราได้สูญหายไปมาก โดยเฉพาะกลไกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านด้วยกันเอง กลายเป็นการเรียนรู้แบบสมัยใหม่ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น เช่น โรงเรียน ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน หอกระจายข่าว วิทยุ และทีวี เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีกลไกการเรียนรู้ที่ผ่านตัวบุคคล ซึ่งมีทั้งบุคคลของรัฐและบุคคลจากภาคธุรกิจ (เซลส์แมน)

การเรียนรู้แบบใหม่นี้เป็นลักษณะ แนวตั้ง โดยที่แหล่งความรู้ดูจะทรงอำนาจมากกว่า (เพราะมีความรู้มากกว่า) ประชาชนเป็นเพียงผู้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเซื่องๆเท่านั้น กล่าวกันถึงที่สุดแล้ว การเรียนรู้ในลักษณะนี้มิได้ช่วยให้ประชาชนเรียนรู้ได้จริง นอกจากรับข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีโอกาส ย่อย อย่างวิพากษ์วิจารณ์ด้วย จึงเป็นเหตุให้ประชาชนจำนวนมากถูก ครอบงำ ด้วยข้อมูลข่าวสารทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจได้ง่าย

สภาพการณ์ที่เป็นอยู่นี้นับว่าน่าเสียดายนัก เพราะแท้ที่จริงแล้วในอดีตที่ไม่นานนัก ชุมชนของสังคมไทยล้วนมีกลไกที่เอื้อต่อการเรียนรู้อยู่มาก ช่วยให้คนไทยในชนบทได้เรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลายจากคนในชุมชนด้วยกันด้วยวิธี การหลากหลาย อาจเรียนรู้ได้ภายในครอบครัว วัด หรือมัสยิด หรือพูดได้ว่าอยู่ในบริบทของชุมชนนั้นเอง บางอย่างก็เป็นวิถีชีวิต เช่น กลุ่มอาชีพในชุมชน หรือรูปแบบของการใช้พาหนะก็เอื้อให้ผู้คนในละแวกเดียวกันได้มีโอกาสแลก เปลี่ยนเรียนรู้กันได้มากและต่อเนื่อง

ลองนึกดูว่า การที่ชาวบ้านนั่งเรือจากชุมชนไปตลาดคราวละ 5 คน 8 คน โอกาสที่จะเรียนรู้อะไรต่อมิอะไรระหว่างกันย่อมจะมากกว่าที่แต่ละคนขี่ มอเตอร์ไซค์ออกจากหมู่บ้านไปตามลำพัง หรือการที่ผู้คนในหมู่บ้านได้ไปทำบุญทำทานในวันพระ วันโกน ที่วัดในหมู่บ้าน ก็มีโอกาสเรียนรู้เรื่องต่างๆจากกันและกันได้มาก และสิ่งที่เรียนรู้ก็ใกล้กับวิถีชีวิตของตนมากกว่าที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากทีวีมิใช่หรือ หรือการที่ในชุมชนจัดตลาดเช้าให้ทุกคนนำสิ่งของมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันทุก สัปดาห์นั้น ก็เป็นกลไกที่เกื้อกูลต่อการเรียนรู้ของผู้คนในชุมชนทั้งสิ้น

ออกจะน่าเสียดายที่กลไกเหล่านี้กำลังสูญหายไป ในขณะนี้ ชาวบ้านนิยมออกไปจับจ่ายใช้สอยซื้อทั้งของกินของใช้ในตลาดในเมือง หรือไม่ก็มีพ่อค้าแม่ค้าเร่จากภายนอก นำสินค้าเข้ามาขายในหมู่บ้าน ชนิดมาบริการถึงหัวกระไดบ้าน บ้านใครบ้านมัน ทำให้โอกาสที่ผู้คนในชุมชนจะได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแทบจะไม่มี

การที่กลไกการเรียนรู้ภายในชุมชนที่เคยมีอย่างเหลือเฟือในอดีต ถูกทำให้อ่อนกำลังหรือหมดหน้าที่ลงไป ก็ย่อมทำให้ผู้คนในชนบทขาดโอกาสที่จะเรียนรู้จากกัน และโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตนบนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ก็ลดน้อยลงไปเป็นอันมาก เราจึงพบว่า ชาวชนบทจำนวนมากตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ และถูกเอาเปรียบจากภายนอกมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะรู้ไม่ทันต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสมัยนี้

แม้ผมจะได้คลุกคลีกับชาวชนบทเหล่านี้ในช่วงเวลาไม่นานนัก แต่ผมก็เกิดความรู้สึกว่าเขาขาดความมั่นใจในศักยภาพของตนเองอย่างมากทีเดียว ไม่ว่าจะเอ่ยถึงเรื่องอะไร ความรู้สึกของชาวบ้านโดยรวมก็คือ "เขาไม่รู้" หรือ "เขารู้ไม่พอ" "เขาทำไม่ได้" เช่น พอพูดถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องจัดการศึกษาให้กับลูกหลาน คำตอบที่มักจะได้ยินอยู่เสมอก็คือ "พวกเราไม่มีความรู้" "ต้องยกให้เป็นหน้าที่ของครูหรือโรงเรียนรับผิดชอบ" พอพูดถึงเรื่องสุขภาพอนามัย คำตอบก็จะออกมาคล้ายๆกันคือ "ไม่มีความรู้" "ไม่มีความสามารถ" "ต้องยกให้พยาบาลหรือแพทย์ และโรงพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบ" เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชาวชนบทในด้านการขาดความมั่นใจในศักยภาพของตน เอง ไม่เป็นผลดีกับการพัฒนาสังคมไทยในยุคสมัยนี้อย่างแน่นอน

ผมคิดว่าเราน่าจะต้องช่วยกันหาหนทางปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว หาไม่สิทธิทั้งหลายทั้งปวงที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญก็มิได้ผลอะไรจริงจังกับ ประชาชนโดยทั่วไป

สิ่งแรกที่ผมคิดว่าควรจะลงมือทำได้เลยก็คือ การสนับสนุนส่งเสริมกลไกการเรียนรู้ภายในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย ถ้ามีอยู่บ้างแล้วก็ควรพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติและเป็นวิถีชีวิตของผู้คน ในชุมชน

นอกจากนี้ การทำกิจกรรมใดๆของหน่วยงานภายนอก ไม่ว่าจะเป็นราชการหรือเอกชน สิ่งที่ต้องคำนึงให้มากคือ กิจกรรมนั้นๆจะต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ให้มาก เครื่องมือใหม่ๆที่ช่วยเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น วิธีการเอ.ไอ.ซี.(AIC)วิธีเมตาแปลน (Meta plan) และอื่นๆควรส่งเสริมให้ใช้ เพราะเครื่องมือดังกล่าวนี้จะช่วยให้ชาวบ้านมีโอกาสเรียนรู้จากกันและกันได้ มากในช่วงเวลาอันสั้น

กิจกรรมบางอย่างของชุมชนเช่นตลาดนัด งานเทศบาล หรือแม้แต่งานบวช งานตาย ถ้าจัดขึ้นภายในชุมชนอย่างเรียบง่าย ก็จะเป็นกลไกการเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในชุมชนได้มาก

ความพยายามทั้งของหน่วยงานรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในอันที่จะผลักดันให้เกิด ประชาคม (Civil Society) ขึ้นในระดับจังหวัด อำเภอ หรือตำบลนั้น จะไม่มีวันสำเร็จได้เลย ถ้าภายในจังหวัด อำเภอ หรือตำบลนั้นๆขาดกลไกการเรียนรู้ภายในที่ช่วยให้สมาชิกได้เรียนรู้จากกันได้ อย่างต่อเนื่อง

ที่กล่าวมานี้ มิได้ตีขอบเขตอยู่จำเพาะชุมชนชนบทเท่านั้น แม้แต่ในชุมชนเมืองซึ่งเต็มไปด้วยแหล่งความรู้มากมาย แต่เมื่อวิเคราะห์กันอย่างละเอียดก็จะพบได้โดยไม่ยากว่า กลไกการเรียนรู้แบบแนวนอน คือชุมชนเรียนรู้จากกันเองมีน้อยมาก แล้วเราจะคาดหวังให้ชุมชนน่าอยู่ได้อย่างไรกัน

จาก: นิตยสาร Life & Family

http://www.momypedia.com/boxTh/knowledge/printpage.aspx?no=3901&p=1

ชุมชนน่าอยู่สร้างได้เพราะใส่ใจ


ชุมชนน่าอยู่สร้างได้เพราะใส่ใจ

          โดย...โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)



             ในมุมมองของผม องค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการสร้างชุมชนน่าอยู่ ซึ่งมีฝ่ายบริหารชุมชนทำหน้าที่ในการบริหารจัดการองค์ประกอบดังกล่าว ได้แก่ “การบริหารทรัพย์ส่วนกลาง (Facility Management) อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารงบการเงิน (Budgeting) อย่างโปร่งใส การเข้มกับเรื่องของ “ความปลอดภัย” (Security & Safety) และการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management) ของการอยู่อาศัย

              อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงองค์ประกอบพื้นฐานในการบริหารจัดการชุมชน แต่องค์ประกอบที่ช่วยขยายความการเป็นชุมชนน่าอยู่ให้เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ เรื่องของการสร้างคุณภาพชีวิต (Life Quality)ที่แวดล้อมด้วยสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี

ธรรมชาติของการอยู่คอนโดมิเนียมก็คือการมีเพื่อนบ้านที่อยู่ห้องข้างๆ ห้องชั้นบน และชั้นล่าง แต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน มีความต้องการและวิถีชีวิตที่ต่างกัน ถ้าไม่มีการเอาใส่ใจระหว่างผู้อยู่อาศัยด้วยกัน หรือฝ่ายบริหารชุมชนไม่มีความรับผิดชอบต่อผู้อยู่อาศัย การอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมก็จะไม่มีความสุข

             ผมมีตัวอย่างของประสบการณ์ความสุขที่เกิดจากความใส่ใจกัน จากคำบอกเล่าของผู้อยู่อาศัยท่านหนึ่งผ่านทาง e-mail ว่า “ในช่วงวันหยุดนี้ ดิฉันไปที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง กำลังวนหาที่จอดรถอยู่หลายรอบ สักพักก็มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำชั้นจอดรถนั้นตรงรี่เข้ามา แล้วพยายามส่งสัญญาณว่ามีที่ว่าง

             ดูพนักงานเขาตั้งใจมากจนนึกชมในใจว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยที่นี่อบรมมาดีเชียว ดูแล ช่วยหาที่จอดใส่ใจแบบมากกว่าที่เคยเห็นในห้างสรรพสินค้าอื่น

             จนจอดรถเสร็จ เขาก็ยังไม่เดินไป... เขาจะรอพูดอะไรกับเรารึเปล่า คำตอบคือ..เขาบอกว่าเขาเห็นสติกเกอร์ที่หน้ารถเราว่าอยู่โครงการลุมพินี ที่บริษัทเคยส่งเขาไปประจำอยู่ที่นั่นเลยรู้สึกผูกพันเห็นสติกเกอร์แล้วอยากให้บริการ...

             สิ่งเหล่านี้เริ่มต้นขึ้นจากการฝึกฝน เมื่อปฏิบัติบ่อยครั้งก็กลายเป็นความรู้สึกผูกพันและรักใส่ใจที่จะทำ แม้ในสิ่งที่เกินหน้าที่ความรับผิดชอบก็ตาม


http://www.softbizplus.com/real-estate-property-news/428-create-livable-communities-because-they-care-about



พลังชุมชน กับการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่




1. เมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ คืออะไร
เมืองน่าอยู่ (Healthy Cities) และชุมชนน่าอยู่ (Healthy Communitites) เป็นเมืองและชุมชน (ในเมือง หรือชนบท) ที่มีการสร้างสรรค์ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางสังคม และทางกายภาพอย่างต่อเนื่อง มีการขยายการใช้ทรัพยากรของเมือง ทุกๆ ด้าน เพื่อให้ประชาชนมีพลัง หรือความสามารถที่จะเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของชีวิต เป็นการพัฒนาศักยภาพสูงสุดของคน (พนัส พฤกษ์สุนันท์, 2544:3)

2. เมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ปี พ.ศ.2543 สำนักงานคณกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดเมืองน่าอยู่ / ชุมชนน่าอยู่ เป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีลักษณะและองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ ความเป็นประชารัฐ และความน่าอยู่ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ, 2543:10-11)



3. การสร้างพลัง คืออะไร
การสร้างพลัง (Empowerment) เป็นกระบวนการทางสังคม ที่ส่งเสริมให้บุคคล องค์กร และชุมชน มีความเป็นตัวของตัวเอง สามารถควบคุมตนเอง มีความสามารถในการเลือก และกำหนดอนาคตของตนเอง ชุมชน และสังคมได้ การสร้างพลังจึงเป็นกระบวนการ ที่บุคคลสามารถกระทำร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในแนวทางที่พึงปรารถนา แต่ไม่ใช่เป็นพลังที่จะไปบังคับ หรือครอบงำคนอื่น (Wallertein & Bernstein, 1988:379-394) แนวคิดการสร้างพลังจะเน้นการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับบุคคล และส่งเสริมสการรวมกลุ่มกัน เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม และสิ่งแวดล้อม การสร้างพลังจึงสอดคล้องกับ แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ที่มิได้เน้นเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ระดับบุคคลเท่านั้น แต่จะต้องมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงระดับสังคมด้วย สอดคล้องกับ องค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่า "เป้าหมายสุดท้ายของกลวิธีการดูแลตนเอง คือ การสร้างพลังให้ประชาชน สามารถกำหนด หรือจัดการกับสุขภาพของตนเองได้" (WHO, 1991:4)

3.1 ทฤษฎีการสร้างพลัง (Empowerment Theory)

ทฤษฎีการสร้างพลัง มาจากแนวคิดของการศึกษาเพื่อการสร้างพลัง ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษาที่เน้น ให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เกิดความนับถือเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง วิธีการที่ใช้ในการจัดการศึกษา เพื่อการสร้างพลังนี้ จะเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน อย่างเต็มที่ (Active Participation) โดยใช้วิธีการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดระหว่างผู้เรียน ให้ผู้เรียนสามารถระบุปัญหาของตน วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ มองภาพอนาคตได้ สามารถพัฒนากลวิธีที่จะแก้ไขปัญหา และดำเนินการแก้ไขปัญกา การจัดการศึกษาการสร้างพลังนี้ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem) มีความคาดหวังในความสามารถของตนเอง (Self Efficacy) สูงขึ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ เจตคติ และทำให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องมากขึ้น ในแต่ละบุคคล ทั้งยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาความเสมอภาคในสังคมด้วย (Wallertein & Bernstein, 1988:379-394)

3.2 ระดับของการสร้างพลัง

การสร้างพลัง เน้นอิทธิพลที่เกี่ยวข้องในด้านการควบคุมตนเอง (Personal Control) และอิทธิพลที่เกี่ยวข้องทางด้านสังคม หรือชุมชน (Social Control) ระดับของการสร้างพลัง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ (ปริญญา ผกานนท์, 2543:27-29) ดังนี้

การสร้างพลังให้ตัวบุคคล พลังในตัวบุคคลจะเกิดขึ้นได้กับบุคคลที่ได้รับ การสนับสนุนส่งเสริมให้แสดงออก ซึ่งความสามารถในการพัฒนาแนวคิด และการทำงานสู่ความสำเร็จ ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น สามารถพึ่งตนเองได้ และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง

การสร้างพลังในองค์กร เป็นการส่งเสริม และสนับสนุนให้สมาชิกในองค์กร มีส่วนร่วมในอำนาจขององค์กร ตั้งแต่ การใช้ประโยชน์จากข้อมูล มีกระบวนการตัดสินใจ การกำหนดวิธีดำเนินงาน และการควบคุมความพยายามต่างๆ ต่อจุดมุ่งหมายที่กำหนดร่วมกัน ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยง ในกลุ่มสมาชิกเพื่แสร้างเป็นพลังองค์กร แล้วไม่เชื่อมโยงกับองค์กรอื่นๆ และชุมชนในเชิงอำนาจ หรือพลังโน้มน้าวอนาคต และการตัดสินใจในสังคมที่กว้างขึ้น

การสร้างพลังในชุมชน เป็นระบบคุณค่าทางสังคม (Social Value) ซึ่งแสดงออกถึง การรวมตัวของประชาชนในชุมชน เพื่อทำกิจกรรมของชุมชนร่วมกัน ด้วยความสามัคคีเกื้อกูล มีการจัดการที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังในการพัฒนาชุมชน ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนบทบาท ของประชาชนในชุมชน โดยปล่อยให้ชุมชนได้มีโอกาสตัดสินใจ และเลือกหนทางในการแก้ปัญหาของชุมชนเอง

3.3 จะสร้างพลังชุมชน ด้วยวิธีการใด

หัวใจของการสร้างพลัง คือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีกทุกฝ่าย ต่อการพัฒนาชุมชน หรือแก้ไขปัญหาจของชุมชน เกิดผลของการเรียนรู้ คือ พลังความรู้ การตัดสินใจ และความสามารถในการพัฒนาชุมชน หรือสังคมอย่างยั่งยืน และกระทบผลประโยชน์อย่างเป็นระบบ โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีหลักการสำคัญ ดังนี้

รวม "พลังใจ" การที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมทางสังคมด้ามใดก็ตาม ขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญ คือ การรวมตน เพื่อรวมพลังใจ เป็นการสร้างเสริมใจซึ่งกันและกัน เกิดความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทร มีความสนใจ และมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ทำให้เกิดจิตสำนึกในการแก้ไข หรือพัฒนาท้องถิ่น การรวมกัน รวมใจ เป็นการส่งเสริมให้เกิดประชาคม หรือเวทีประชาคม โดยใช้ประเด็นที่ชุมชนสนใจ มาเป็นเครื่องมือในการรวมคน
สิ่งที่สำคัญ คือ การค้นหาผู้นำที่มีจิตวิญญาณ มีอุดมการณ์ต่อสถานการณ์ หรือประเด็นต่างๆ ที่ชุมชนสนใจให้ได้ โดยการเสนอตน ตามความสมัครใจ หรือให้ชุมชนเป็นผู้เสนอ ผู้นำเหล่านี้ มักเป็นผู้นำตามธรรมชาติ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน อดกลั้น จิตใจอาสาสมัคร อาจเป็นพระภิกษุ หมอพื้นบ้าน นักพัฒนา และข้าราชการยุคใหม่ ฯลฯ หากเราสามารถรวมพลังใจ ของผู้นำเหล่านี้ได้ จะทำให้ได้คนที่มีคุณภาพ มีพลัง และรวมตัวกันอย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานในขั้นต่อๆ ไป ประสบความสำเร็จ

บางกรณีเกิดจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรพัฒนา เข้าไปกระตุ้นให้คนในชุมชนรวมตัว เพื่อพัฒนาชุมชน วิธีการนี้ ส่วนใหญ่เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ได้เฉพาะกาย ไม่ได้ใจ และมักได้คนที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีพลัง เป็นการรวมคนที่ไม่มีความยั่งยืร ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานในขั้นต่อๆ ไป ไม่ประสบผลสำเร็จ

การระดม "พลังความคิด" เมื่อรวมคนได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ "การร่วมคิด" โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ วิเคราะห์ปัญหา และโอกาสอย่างรอบด้าน รวมทั้งการกำหนดแนวทาง วิธีการ และแผนงานในการแก้ไขปัญหา หรือการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ สร้างสรรค์ และยั่งยืน
ก่อเกิด "พลังการจัดการ" ขั้นตอนนี้จะเกิด "การร่วมทำ" ดำเนินงานตามแนวทาง วิธีการ และแผนงานที่กำหนดในขั้นตอนที่ 2 สิ่งที่ควรทำในขั้นตอนนี้ คือ การจัดระบบการบริหารจัดการที่ดี เช่น การแบ่งบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของภาคี การพัฒนาต่างๆ อย่างเหมาะสม มีความเคารพนับถือ และให้การยอมรับความรู้สึก ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีความจริงใจต่อกัน มีความเอื้ออาทร และความหวังดีระหว่างสมาชิก ย่อมทำให้เกิดการดำเนินงานราบรื่น และมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ
สร้าง "พลังภูมิปัญญา การขับเคลื่อนกิจกรรมแก้ไขปัญหา หรือการพัฒนาสังคมใดๆ ก็ตาม สิ่งที่ขาดเสียมิได้ ก็คือ การสรุปบทเรียนร่วมกัน เป็นการติดตามประเมินผล โดยเริ่มต้นจากการประเมินผลตนเอง และประเมินผลงาน ผ่านกระบวนการกลุ่ม และเครือข่ายการเรียนรู้ ทำให้เกิดการเชื่อมต่อ ทักษะ องค์ความรู้ และประสบการณ์ใหม่ๆ นำไปสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และเป็นชุมชนที่มีพลังมากขึ้นเรื่อยๆ
สร้าง "พลังปิติ" ขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการ คือ การรับผลจากการกระทำ เป็นการสร้าง "พลังปิติ" โดยการยกย่อง ชื่นชม ให้กำลังใจ แก่คนที่มีความตั้งใจ และเสียสละให้กับชุมชน และสังคม ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และมีความสุขจากการทำงานร่วมกัน ส่วนปัญหา อุปสรรคที่เกิดจากการกระทำ ถือว่าเป็นบทเรียนที่ต้องนำมาปรับปรุง พัฒนาไม่ให้เกิดขึ้นอีก
สร้าง "ภาพลักษณ์" เป็นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ไปสู่องค์กรชุมชนอื่นๆ เช่น ถ้าเป็นองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ การประชาสัมพันธ์ จะช่วยเพิ่มช่องทางการตลาด สร้างรายได้เพิ่ม หากเป็นองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น การประชาสัมพันธ์จะเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติแก่ผู้ประกอบการต่างๆ ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ เป็นต้น

4. ทำไมจึงต้องสร้างพลังชมชน ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่
ในกระแสโลกาภิวัฒน์มีการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ อย่างรวดเร็ว และโยงใยถึงกันทั่วทุกแห่ง ทั้งในเมืองและชนบท การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ ของโลก สู่การค้าเสรี การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สิ่งแวดล้อม และระบบต่างๆ ในสังคม ณ มุมใดของโลก จะส่งอิทธิพลกระทบไปทั่วถึงกันหมด และรวดเร็ว ก่อเกิดปัญหามากมาย ในสังคม และชุมชนที่กำลังพัฒนา ซึ่งต้องการการแก้ไขอย่างรอบด้าน และบูรณาการ ทำให้เกิดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน การอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะส่วนจึงไม่พอ และจะต้องเข้าใจปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันด้วย นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้กำหนดการกระจายอำนาจ และตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นตนเอง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนทั้งในเขตเมือง และชนบทให้มีความเป็นอยู่ที่ดี อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยรัฐบาลได้กำหนดให้ การพัฒนาเมืองน่าอยู่ และชุมชนน่าอยู่เป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2542 ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ และชุมชนน่าอยู่ให้ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ของประชาชน และทุกภาคีการพัฒนา (คณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ, 2543:8-9) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น โดยระดมการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบในผลการพัฒนา ซึ่งจะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ จากการปฏิบัติจริง อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข ในการพัฒนาเมือง และชุมชนให้น่าอยู่ตามความต้องการ ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหัวใจของความสำเร็จ ในการพัฒนา และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการเชิงพื้นที่ในมิติใหม่ ด้วยการพัฒนากระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ให้เกิดพลังของคนในชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ในการพัฒนาแก้ไขปัญหา สนับสนุนให้ชุมชนจัดทำแผนของชุมชนเอง โดยใช้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ตลอดจนสนับสนุนให้ชุมชนสามารถพัฒนาชุมชน ในลักษณะการพึ่งพาตนเองได้ แทนการรอรับบริการจากภาครัฐอย่างเดิม ดังนั้น จึอต้องมีการเตรียมชุมชนให้พร้อม เข้าร่วมพัฒนา การสร้างพลังชุมชนจึงมีความจำเป็น และมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ

5. สรุป
ในการสร้างพลังชุมชนด้วยกระบวนการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมนั้น เป็นบรรยากาศของความร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วน รวมทั้งสร้างวิธีคิดที่เป็นระบบ คิดแบบองค์รวม ภาครัฐ หรือข้าราชการต้องเข้าใจว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน มิใช่เป็นของข้าราชการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่เป็นของประชาชน ข้าราชการทุกกระทรวงต้องร่วมมือ ประสานงานกัน สนับสนุนให้ประชาชนมีพลังความสามารถ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามกระบวนการของชุมชน และพึ่งพาตนเองได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม




http://advisor.anamai.moph.go.th/conference/power/power00.html

วีดีโอ พลังชุมชนสร้างสานงานอาชีพ




http://www.youtube.com/watch?v=kKhI-Wf4Cxg

ชุมชนน่าอยู่ ..สุขภาพคนในชุมชนก็แข็งแรง


รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพ
Community Participation Model of Health Promotion
การส่งเสริมสุขภาพ เป็นทั้งกระบวนการ กิจกรรม และแนวทาง สำหรับการดำเนินงาน เกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อส่งเสริม และเกื้อหนุนให้บุคคล ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนในทุกด้าน แบบองค์รวมอย่างเป็นระบบ เนื่องจากสุขภาพนั้น เป็นองค์รวม ที่มาจากส่วนประกอบหลายๆ ประการ อาทิ สังคม สิ่งแวดล้อม ระบบบริการสุขภาพ และวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคล เพื่อสนับสนุน ยับยั้ง หรือกำหนดพฤติกรรมสุขภาพ ไปสู่การปฏิบัติ จึงต้องอาศัยความร่วมมือ และการระดมพลังจากทุกฝ่าย ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และการปรับปรุงสังคมด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และอื่นๆ โดยใช้กลยุทธ์การถ่ายโอนอำนาจจากรัฐ มาสู่ประชาชน ให้มีพลังอำนาจที่จะดูแลสุขภาพ และจัดการกับชุมชนของตนเอง อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ และความเป็นไปได้ ในแต่ละท้องถิ่น โดยคำนึงถึง ระบบสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ที่แตกต่างกันของชุมชน และเน้นการทำงานร่วมกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนอย่างเต็มที่
การประชุมแพทยศาสตร์ (2542) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการมีส่วนร่วม ของประชาชน ในการส่งเสริมสุขภาพ จึงเสนอแนะระบบบริการสุขภาพ ที่จะสนับสนุน การมีส่วนร่วมของประชาชน ไว้ 3 ประการ คือ
1) การสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคคล ชุมชน ในการควบคุมปัจจัย ที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะความเข้มแข็งของประชาชน และชุมชน จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดบริการสุขภาพมากขึ้น
2) การจัดบริการในชุมชน (community-based health services) เป็นบริการระดับปฐมภูมิ (primary care) ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมได้มากที่สุด และ
3) การประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนานโยบายเพื่อสุขภาพ (public health policy) ที่จะมีผลกระทบต่อ การเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพ
บทบาทของประชาชน มีวามสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง และชุมชน โดยประชาชนจะต้องเห็นคุณค่า และผลของสิ่งแวดล้อม ต่อภาวะสุขภาพ ช่วยกันรักษา และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล ต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี เช่น การรวมตัวกันของชุมชน เพื่อออกกำลังกาย การณรรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ หรือสิ่งเสพติด การรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุ และการจัดโครงการ โรงเรียนสุขภาพดี ที่ทำงานสุขภาพดี หรือชุมชนสุขภาพดี เป็นต้น องค์กรชุมชน จึงต้องมีการพัฒนาโครงสร้าง และกลไกการจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ และตระหนักในสุขภาพของชุมชน และมีเจ้าหน้าที่สุขภาพ ทำหน้าที่ให้ความรู้ และสนับสนุนให้เกิดทักษะ การส่งเสริมสุขภาพ สอดคล้องกับแนวคิด การส่งเสริมพลังอำนาจชุมชน ที่สนับสนุนให้ชุมชนเกิดความสำนึก และพันธสัญญาต่อส่วนรวม และการเสริมสร้างให้ชุมชน ลงมือทำด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง เป็นการสะสมความรู้ และประสบการณ์ จากการปฏิบัติจริง (learning by doing) และเป็นกระบวนการเรียนรู้ แบบปฏิสัมพันธ์ (interactive learning process) โดยเริ่มตั้งแต่ การสร้างทีมงาน เขียนโครงการ จัดทำแผน ดำเนินงาน ควบคู่ไปกับ กระบวนการสะท้อนความรู้สึก ของประชาชน สำหรับข้อมูลย้อนกลับ ในการปรับปรุงแผนงาน และกิจกรรมในโครงการ จนเกิดความรู้สึก เป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน ซึ่งมีส่วนเกื้อหนุนองค์กรชุมชน ให้มีความแข็งแกร่ง และมั่นคงยิ่งขึ้น สำหรับ การพัฒนาโครงการส่งเสริมสุขภาพ แบบยั่งยืนต่อไป



ขั้นตอนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของชุมชน
1. ขั้นตอนการสร้างทีมงาน มีการจัดการดังนี้
การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างเจ้าหน้าที่สุขภาพ กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในสาขาต่างๆ เช่น ครู พัฒนาชุมชน เกษตรชุมชน และองค์กรต่างๆ ในชุมชน โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่น ทำบุญทอดกฐิน ปลูกต้นไม้ในชุมชน งานวันเด็กของโรงเรียน งานบวช และงานศพ เป็นต้น เพื่อแสดงออกถึงความจริงใจ ที่มีต่อชาวบ้านในชุมชน และถ้าหากเป็นคนในท้องถิ่น และสามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้ ก็จะยิ่งเป็นการดี ที่จะทำให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคย กับชาวบ้านมากขึ้น จนกลายเป็นความไว้วางใจ ที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ในกิจกรรมต่างๆ ของสถานีอนามัย
การสร้างแกนนำของชาวบ้าน หรือ "ทีมส่งเสริมสุขภาพชุมชน" ด้วยการจัดประชุม อาสาสมัครสาธารณสุข กรรมการชุมชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน หรือกลุ่มอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งชาวบ้าน เพื่อเปิดกว้างให้กับคนในชุมชนทุกคน ได้เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะ อาสาสมัครสาธารณสุขเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องชี้แจงจุดประสงค์ ของโครงการ บทบาท และความสำคัญของแกนนำชาวบ้าน คือ ต้องเป็นผู้ที่มีความสมัครใจ เสียสละ สามารถอุทิศเวลาให้กับส่วนรวมได้ และที่สำคัญ ต้องมีความสนใจในเรื่องของสุขภาพ ทั้งของตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อเป็นตัวอย่างด้านสุขภาพ ของคนในชุมชน สามารถกระตุ้น ชักจูงชาวบ้าน ให้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพ และยินดีร่วมมือกัน แก้ไขปัญหาของชุมชน และเป็นผู้นำในกิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้
การให้ความรู้แก่กลุ่มแกนนำชาวบ้าน เพื่อให้กลุ่มแกนนำได้เกิดแนวคิด เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการแก้ไขปัญหาชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชน และเป็นพื้นฐานในการทำงานต่อไป

2. ขั้นตอนการสร้างความตระหนัก ถึงปัญหาสุขภาพของชุมชน สามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่ในที่นี้ขอเสนอด้วยวิธีการ ใช้ปัญหาเป็นหลัก (problem based) ในการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาชุมชน โดยเริ่มจาก การมีส่วนร่วมสำรวจชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้รู้สภาพของ ปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง ตั้งแต่การสร้างแบบสำรวจ การกำหนดพื้นที่ และทีมงานสำรวจ การสำรวจ และการนำข้อมูลมาสรุป และมีเจ้าหน้าที่สุขภาพ เป็นพี่เลี้ยง ช่วยตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล การระบุปัญหา และสาเหตุของปัญหา โดยกลุ่มแกนนำเป็นผู้นำเสนอข้อมูล ที่ได้จากการสำรวจ ต่อที่ประชุมชาวบ้าน และเปิดโอกาสให้ชาวบ้าน เสนอความคิดเห็น และปัญหาเพิ่มเติม เพื่อสรุปออกมา เป็นปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง และนำปัญหาสำคัญ มาค้นหาสาเหตุ สำหรับเป็นแนวทางในการแก้ไขต่อไป และการจัดลำดับความสำคัญ ของปัญหา ด้วยการให้ที่ประชุมร่วมกัน จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ตามความรุนแรง และความต้องการของชุมชน เพื่อนำมาวางแผนต่อไป

3. ขั้นตอนการวางแผน แก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน ชาวบ้านร่วมกันเสนอความคิด และกำหนดกิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สุขภาพ บนพื้นฐานของชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งการกำหนดกิจกรรม และวางแผนนั้น ไม่จำเป็นต้องทำให้เสร็จสิ้นในครั้งเดียว แต่อาจกำหนดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทีละกิจกรรม เช่น การทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อจัดหาทุนมาใช้ในการดำเนินงาน การจัดตั้งชมรมสุขภาพชุมชน การนวดแผนไทย การส่งเสริมการปลูกต้นไม้ และสมุนไพรในชุมชน ส่งเสริมการผลิต และบริโภคข้ามซ้อมมือ และกิจกรรมวันผู้สูงอายุ เป็นต้น เพราะเมื่อสิ้นสุดในแต่ละกิจกรรม ทีมงานจะได้นำประเด็นข้อเสนอต่างๆ มาใช้ในการวางแผนงานกิจกรรมต่อไป

4. ขั้นตอนการดำเนินการของชุมชน โดยการจัดตั้งกลุ่มทำงาน ของแต่ละกิจกรรม และดำเนินงานตามแผน โดยมีเจ้าหน้าที่สุขภาพ เป็นผู้ให้การสนับสนุน และช่วยประสานงาน ให้คณะทำงานสามารถดำเนินการได้ และมีการประชุม และประเมินผลการทำงานเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงแผนงานอย่างต่อเนื่อง

5. ขั้นตอนการประเมินผล และการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือ หลังจากการดำเนินงานไปแล้ว 1 ปี ควรมีการประเมินภาวะสุขภาพของชุมชน ในประเด็นต่างๆ เช่น อัตราการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น หรือลดลงมากน้อยเพียงใด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพเป็นอย่างไร และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ของชุมชน เกิดขึ้นหรือไม่ และจัดทำรายงานการประเมินผล พร้อมทั้งชี้แจง และเผยแพร่ให้ชาวบ้าน ได้รับทราบถึงผลการดำเนินงาน เพื่อให้ชาวบ้านดำเนินงานต่อไป ได้อย่างมั่นใจ
บทบาทของเจ้าหน้าที่สุขภาพ ต่อการส่งเสริมสุขภาพ

การแสดงออกของเจ้าหน้าที่สุขภาพ มีส่วนทำให้ชาวบ้านเกิดความรู้ และจิตสำนึกในการดูแลสุขภาพ และรู้จักแสวงหาความรู้ เพื่อการตัดสินใจ และปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพตนเอง และชุมชน ดังมีบทบาทต่อไปนี้
1. สร้างความมั่นใจให้กับชุมชน การให้ชาวบ้าน เกิดความมั่นใจนั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการร่วมงานกับชุมชน เพราะทำให้ชาวบ้านเกิดความไว้วางใจ ที่จะทำงานร่วมกันต่อไป วิธีการที่ช่วยให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจ และไว้วางใจ คือ การแสดงออก ถึงความจริงใจ ที่ต้องการดูแลสุขภาพชาวบ้าน อย่างสม่ำเสมอ

2. เสริมสร้างพลังอำนาจแก่ชุมชน เป็นการเพิ่มสมรรถนะ (enabling) ให้ชาวบ้าน สามารถควบคุมสภาวะสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา โดยมีเจ้าหน้าที่สุขภาพ ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่
การให้ข้อมูลข่าวสาร ที่เอื้อต่อสุขภาพคน ในชุมชน เช่น การประชุมชี้แจง การจัดอบรม และการประกาศทางหอกระจายข่าว เป็นต้น
การพัฒนาการทำงานเป็นทีม ด้วยการกระตุ้นให้ชาวบ้าน ร่วมกันคิด และร่วมกันลงมือทำกิจกรรม ด้วยตนเอง (Community Action) โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง (Self Reliance) และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
การพัฒนาทักษะสุขภาพตนเอง โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ และฝึกทักษะสุขภาพ ให้แก่ชาวบ้าน ในวันพบกลุ่มของสมาชิก ชมรมส่งเสริมสุขภาพ อาทิ การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเล่าประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคน การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ และการฝึกออกกำลังกาย นั่งสมาธิ หรือการผลิตนมถั่วเหลือง เป็นต้น
การศึกษาดูงาน โดยการนำชาวบ้านไปดูงาน ตามเครือข่ายต่างๆ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มออมทรัพย์ หมู่บ้านดีเด่นในเรื่องต่างๆ เช่น การผลิตสมุนไพร การผลิตข้าวซ้อมมือ หรือการบริหารจัดการ เป็นต้น เพื่อการเรียนรู้ ทำให้ชาวบ้านเกิดความรู้ แนวคิด และกำลังใจในการทำงาน พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องต่อไป

3. ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพชุมชน เป็นการช่วยให้ชุมชนเรียนรู้ การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้ อย่างเกื้อกูล และสมดุล ทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และสังคม ซึ่งถือว่า เป็นหน้าที่ของทุกคน ดังเช่น
การส่งเสริมอาชีพที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น การผลิตนมถั่วเหลือง การนวดแผนไทย การปลูก และผลิตสมุนไพรในชุมชน และการผลิตข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
การส่งเสริมการปลูกป่าสวนผสม โดยการแนะนำให้ปลูกต้นไม้ยืนต้น ไม้ผล และสมุนไพรผสมผสานกันไป เพราะนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นแหล่งของพืชสมุนไพรแล้ว ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวได้ ทั้งระยะสั้น โดยการขายพืชสมุนไพร และในระยะยาว การปลูกไม้ยืนต้นเปรียบเสมือน "ต้นไม้บำนาญชีวิต" ไว้ใช้จ่ายยามแก่เฒ่าได้ด้วย เนื่องจากการขายต้นไม้ขนาดใหญ่ จะมีราคาสูงมาก
การส่งเสริมสัมพันธภาพ และมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน ภายในชุมชน เป็นการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม โดยเน้นให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญ "ความสามัคคี" ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดพลัง ในการทำงานและแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

4. ปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ โดยส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ด้วยการผสมผสานความรู้ ทางด้านการแพทย์ มาให้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น และการกระตุ้นให้ชาวบ้านมาร่วมคิด และทำกิจกรรมกับ เจ้าหน้าที่สุขภาพ เช่น การเปิดบริการแพทย์แผนไทย การนวด การอบ และการจำหน่ายยาสมุนไพร เป็นต้น

5. ประสานความร่วมมือ โดยการประสานงานกับองค์กรต่างๆ ทั้งใน และนอกชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล ชมรมสุขภาพต่างๆ คลินิกแพทย์แผนไทย และชุมชนเครือข่ายต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาชุมชน สำหรับเป็นที่ศึกษาดูงาน และเป็นที่ปรึกษา ให้กับองค์กรในชุมชน
บทบาทของเจ้าหน้าที่สุขภาพดังกล่าว เป็นปัจจัยที่สำคัญ ทำให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจ และรู้สึกว่า เจ้าหน้าที่สุขภาพให้อิสระ และยอมรับในความคิดของตน จึงเกิดบรรยากาศของการ ปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่าการสร้างพลังอำนาจ และความแข็งแกร่งแก่ชุมชน นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงบทบาท ของเจ้าหน้าที่สุขภาพ จากการมุ่งเน้นการรักษาพยาบาล เป็นการดูแล และส่งเสริมสุขภาพ แบบองค์รวม โดยการผสมผสานความรู้ ทางด้านการแพทย์ ให้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมคิด ร่วมทำกับชาวบ้านมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้ จากการได้รับการแก้ไข ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี โดยการพูดคุย และการให้กำลังใจ จนเกิดเป็นความรู้สึกที่ดี และเอื้ออาทรต่อกัน ทำให้เกิดพลังในการแก้ปัญหาชุมชน ให้ลุล่วงไปได้



บทบาทของประชาชนในชุมชน
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชส เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบ ของชาวบ้าน ต่อการดูแลสุขภาพของชุมชน ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการมีส่วนร่วม คือ สัมพันธภาพที่ดี ความไว้วางใจ และการยอมรับซึ่งกันและกัน รวมทั้งการแสดงออก ถึงความจริงใจ ของเจ้าหน้าที่สุขภาพ ก็มีส่วนทำให้ชาวบ้าน อยากเข้าร่วมในโครงการ ด้วยความสมัครใจ บรรยากาศในการทำงานร่วมกัน จึงเป็นไปอย่างราบรื่น ดังตัวอย่างกิจกรรมต่อไปนี้

1. การทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสุขภาพ เพื่อหาเงินทุนมาดำเนินงาน เพื่อสุขภาพต่อไป และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน เนื่องจากเป็นงานบุญ ทำให้ชาวบ้านให้ความร่วมมือ ทั้งการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมทุนทรัพย์ ให้งานบรรลุเป้าหมาย เพราะนอกจากชาวบ้าน จะได้รับความสนุกสนานรื่นเริง จากการจัดงานแล้ว รายได้จากการร่วมทำบุญ ยังสามารถนำมาเป็น "กองทุนสุขภาพชุมชน" ในการนำมาพัฒนาชุมชน ด้านสุขภาพต่อไปอีกด้วย

2. ชมรมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้สนใจสุขภาพ ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ และดูแลสุขภาพ มีอาสาสมัครสาธารณสุข ช่วยวัดความดันโลหิต และร่วมกิจกรรม การสวดมนต์ไหว้พระ และนั่งสมาธิ การให้ความรู้สุขภาพ การออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมบันเทิงต่างๆ เช่น ร้องเพลง รำวง เป็นต้น

3. ส่งเสริมการบริโภค และผลิตนมถั่วเหลืองในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้าน ได้ดื่มนมถั่วเหลืองอย่างทั่วถึง ด้วยการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลือง และสอนวิธีการทำนมถั่วเหลือง บริโภคในครอบครัว พร้อมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ ให้กับชาวบ้าน ผู้สนใจที่จะทำอาชีพเสริม ทำให้ชุมชนสามารถมียมถั่วเหลืองให้กับเด็ก ที่ขาดสารอาหาร ทั้งผู้สูงอายุได้บริโภคในราคาที่ถูก
4. ส่งเสริมการนวดแผนไทย เพื่อช่วยลดปัญหาการปวดเมื่อยกระดูก และกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุ และชาวบ้านทั่วไป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต การนวดเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของชาวบ้าน แทนการรับประทานยาแก้ปวด หรือยาสมุนไพร ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น การจัดอบรมการนวดให้คนในชุมชน เพื่อมาเปิดให้บริการนวด แก่ชาวบ้านในชุมชน จึงน่าจะเป็นวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยลดปัญหาการบริโภคยา ที่เกินความจำเป็น ของชาวบ้านลงได้

5. ส่งเสริมการปลูก และใช้สมุนไพรในชุมชน โดยเริ่มต้นจากการแปรรูปสมุนไพร ที่มีวัตถุดิบมากในชุมชน เช่น ขมิ้น และฟ้าทะลายโจร อัดแคปซูล ขี้ผึ้งไพล เป็นต้น พร้อมกับการส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเหล่านั้น ควบคู่ไปกับไม้ยืนต้น และไม้ผล เป็น "สวนผสม" และมีการขุดบ่อเลี้ยงปลาดุกในสวนด้วย จากนั้นควรนำคณะทำงานไปดูงานที่ต่างๆ เช่น ศูนย์การแพทย์แผนไทย หรือหมู่บ้านอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จในการผลิตสมุนไพร ทำให้กลุ่มสามารถพัฒนา การผลิตสมุนไพร ทำให้กลุ่มสามารถพัฒนาการผลิตสมุนไพรดีขึ้น และเจ้าหน้าที่สุขภาพต้องมีส่วนร่วม ในการควบคุมความสะอาด และช่วยประชาสัมพันธ์ เป็นการส่งเสริมการใช้สมุนไพร และช่วยให้ชาวบ้านบางคน มีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิ่มขึ้น

6. กิจกรรมวันผู้สูงอายุ ควรจัดเป็นงานประเพณีประจำปี ของชุมชน ในวันสงกรานต์ เรื่องจากเป็นวันครอบครัว ลูกหลานได้มีโอกาสแสดงมุทิตาจิต แก่ญาติผู้ใหญ่ และให้เด็กรุ่นหลังของชุมชน ได้เห็นประเพณีสงกรานต์ที่ดีงาม จะได้สืบทอดต่อกันไป โดยเชิญชวนให้ชาวบ้าน นำปิ่นโตมาถวายพระ และรับพร และเชิญผู้สูงอายุทุกท่าน มาให้ลูกหลานได้รดน้ำ เพื่อแสดงมุทิตาจิต และขอพรจากท่าน พร้อมทั้งมอบของที่ระลึกต่าง ทำให้เด็กๆ ภายในชุมชนได้เห็นตัวอย่างประเพณีสงกรานต์ ที่ดีงาม มิใช่การสาดน้ำใส่กัน อย่างที่ปรากฎตามท้องถนนต่างๆ
การมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชนนั้น เจ้าหน้าที่สุขภาพมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือ ซึ่งจะเห็นว่า กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น มิได้มุ่งเน้นแต่เพียงการแก้ปัญหาสุขภาพเท่านั้น หากเป็นการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการพัฒนา และประชาชนเองก็เป็นตัวจักรสำคัญ ในการร่วมดำเนินงาน ให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น ทั้งในส่วนของประชาชน และเจ้าหน้าที่สุขภาพ จึงต้องมีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (Community Learning) เพราะเมื่อเกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ จนเป็นวงจรต่อเนื่องไม่รู้จบ ทำให้เกิดพลังมหาศาล ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในสังคม ผลที่ได้จะทำให้บุคคลสามารถ นำความรู้ไปสู่การตัดสินใจ เลือกแนวทางการแก้ปัญหา ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตต่อไป และที่สำคัญ ควรมรการพัฒนาแนวคิด ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อ ที่ว่า บุคคลมีศักยภาพ และสามารถเรียนรู้ที่จะดูแล และพึ่งพิงตนเองได้ เพราะจะเป็นหนทาง นำไปสู่การพัฒนาชุมชน ให้เข้มแข็ง และคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนต่อไปได้


ชุมชนน่าอยู่ห่างไกลยาเสพติด



การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน




ปัจจุบันปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่กำลังทำลายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแม้ว่าทุกฝ่ายจะพยายามป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดมาโดยตลอดจากการสำรวจของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในปี 2536 ประมาณว่ามีผู้ติดยาเสพติดทั่วประเทศ 1.26 ล้านคน โดยแพร่กระจายไปถึงระดับหมู่บ้านชุมชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสังคมและแพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มนักเรียน นักศึกษาและเยาวชนซึ่งเป็นพลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต
สถานการณ์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา
จากการศึกษาผลการดำเนินการที่ผ่านมา สถานการณ์ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาพิจารณาปัจจัยภายในชุมชนวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของชุมชน พิจารณาปัจจัยภายนอกชุมชนวิเคราห์โอกาส ข้อจำกัดและภัยคุกคามสามารถนำปไส่การวิเคราะห์เพื่อการแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้

จุดแข็ง
1. ชุมชนสังคมรวมทั้งสื่อมวลชนตระหนักในความรุนแรงของปัญหายาเสพติดและผลกระทบ จึงให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและจริงจังโดยได้มีการรวมตัวกันเพื่อหาทางป้องกัน ซึงปรากฏว่ามีหลายแห่งประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
2. หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสถาบันธัญญารักษ์และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดประจำภูมิภาคมีการพัฒนาศักยภาพ ให้มีความพร้อมครอบคลุมและเพียงพอต่อการแก้ปัญหา และประสานงานพร้อมถึงระดับชุมชน
3. มีการกระจายอำนาจโดยให้องค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ท้องถิ่นและชุมชนมีขีดความสามารถในการจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดอ่อน
1. โครงสร้างของปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากตัวปัญหาเองมีความสลับซับซ้อนนับวันจะขยายตัวเพิ่มขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยากแก่การแก้ไขเพราะรากเหง้าของปัญหาเกิดจากปัจจัยภายในตัวบุคลและความไร้จิตสำนึก
2. ปัญหาสังคมไทยในเชิงโครงสร้างยังขยายตัวและส่งผลทำให้ปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนประสบปัญหาด้านจิตใจ ด้านอาชีพและรายได้บางส่วนหันไปใช้ยาเสพติดและค้ายาเสพติดรวมทั้งปัญหาค่านิยมเรื่องวัตถุนิยมบริโภคนิยม และอิทธิพลในระดับต่างๆ
3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องขาดความถูกต้องและความน่าเชื่อถือทำให้ไม่สามารถวางแผนและปรับเปลี่ยนการดำเนินงานได้อย่างทันเหตุการณ์



โอกาส
1. รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนและชัดเจน โดยประกาศเป็นสังคม ยาเสพติด โดยแสดงความมุ่งมั่นที่จะเร่งแก้ปัญหาในลักษณะเบ็ดเสร็จ ภายใต้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินมุ่งเน้นการแสวงหาความร่วมมือ-ร่วมใจ จากประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2. งบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้ในการสนับสนุนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาให้กลับมาเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
3. รัฐบาลมีการปรับแก้กฎหมายให้เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดหลายฉบับด้วยกัน

ข้อจำกัดและภัยคุกคาม
1. การดำรงอยู่ของสถานบริการและแหล่งอบายมุข ซึ่งขาดการควบคุมในการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จะเป็นแหล่งค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติดไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะกุล่มเด็กและเยาวชน
2. แหล่งผลิตอยู่นอกประเทศ โดยมีกำลังการผลิตย่างไม่จำกัด และมีช่องทางการลำเลียงนำเข้าสู่ประเทศมากมาย ยากแก่การป้องกันและปราบปราม
3. กลุ่มนักค้า รายใหญ่ รายย่อย รายกลาง เพิ่มขึ้นและกระจายในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ


http://www.thanyarak.go.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=372&Itemid=54&limit=1&limitstart=1

เศรษฐกิจพอเพียง



จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
                        ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
  ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
                   แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
                        “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                   ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ 
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
 โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้ 
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html

วีดีโอ เศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมเป็นสุข



http://www.youtube.com/watch?v=SDyQBsLxkIE&feature=related

ตัวอย่าง ชุมชนพอเพียง


บ้านจำรุง ต้นแบบชุมชนพอเพียง
บ้านจำรุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย  ด้วยสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนเน้นการพึ่งพาตนเอง จนเป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างที่ดี มีผู้มาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดทั้งปี หมู่บ้านจำรุงส่งเสริมให้ประชาชน ได้นำผักพื้นบ้านมารับประทาน อาทิ ดอกอัญชัน ยอดมะระ ขมิ้นชัน ชะอม ใบชะพลู ใบบัวบก ยอดเสม็ดแดง ฯลฯ ใช้ประกอบเป็นอาหารหลัก รวมถึงชวนเชิญนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเป็นลูกค้าของร้านส้มตำจำรุงได้บริโภคผักพื้นบ้านเหล่านี้ จนกระทั่งได้เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน ที่นักท่องเที่ยวรู้จักและคุ้นเคย
กลุ่มผู้สูงอายุบ้านจำรุงเป็นตัว อย่างของการรวมกลุ่มเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพมากมาย อาทิ ผลิตข้าวซ้อมมือบรรจุถุงจำหน่ายในร้านค้าของชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี โดยมีโรงสีข้าวชุมชนเองมีการผลิตข้าวซ้อมมืออย่างต่อเนื่อง และนำเศษแกลบรำส่งให้กับกลุ่มเกษตรกรพื้นบ้านทำปุ๋ยชีวภาพ และนำปลายข้าวขายให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงตะพาบน้ำ



นอกจากนี้บ้านจำรุงยังก่อตั้งกลุ่มธนาคารขยะ ผู้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าของเศษของที่เหลือใช้ แม้แต่ขยะมีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มธนาคารขยะและสิ่งแวดล้อม รับซื้อขยะทุกประเภทมีการคัดแยกขยะแต่ละประเภท สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้เด็ก เยาวชนได้รับรู้ถึงขยะสิ่งของเหลือใช้ ปลูกฝังค่านิยม ทัศนคติในการรักษ์สิ่งแวดล้อม
เมื่อมีคนมาศึกษาดูงาน กลุ่ม ผู้ใช้น้ำจะรวมตัวกันทำอาหารเลี้ยง รับรอง โดยใช้ผักพื้นบ้านเป็นอาหารหลัก ให้รับประทาน รายได้นำไปเป็นกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน นอกจากนี้บ้านจำรุงยังมีการบริการที่พักชุมชนโฮมสเตย์ ให้กับนักท่องเที่ยว ผู้สนใจในวิถีชีวิตที่เน้นการพึ่งพาตนเอง ได้มาสัมผัสและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน



ทั้งนี้การบริหารจัดการชุมชน โดยมีแกนนำที่มีศักยภาพ สามารถพัฒนาสังคมชุมชนที่พร้อมต่อการเรียนรู้ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสาน กับเทคโน โลยีใหม่ ๆ นำมาปรับใช้ในปี 2548 ได้นำชุมชน เครือข่ายชุมชน ผู้นำชุมชน เข้าสู่โครงการมาตรฐานชุมชน (มชช.) และสามารถผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ ติดตามประเมินผล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด เป็นจุดนำร่องต้นแบบ เผยแพร่ แนะนำชุมชนอื่น ๆ เพื่อเข้าสู่การประเมินมาตรฐานชุมชนในปีต่อ ๆ ไป
ชาติชาย เหลืองเจริญ ผู้ใหญ่บ้านบ้านจำรุงเข้ามารับหน้าที่นี้ตั้งแต่ปี             2547-2552       เล่าให้ฟังถึงรูปแบบการจัดการชุมชนจนได้รับเลือกให้เป็นชุมชนนำร่องว่า การทำหมู่บ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนี้ ไม่ได้มุ่งหวังเรื่องเงิน แต่มุ่งหวังเรื่องการเรียนรู้ ปัญหาคือ ชุมชนอ่อนแอเพราะขาดความรู้  ถ้าเราแบ่งคนเป็น 3 ฐาน ฐานที่ 1 คือคนระดับมันสมอง จะไหลออก ไม่อยู่ในชุมชน ผู้ที่เรียนหนังสือจนสำเร็จการศึกษามักไม่กลับไปบ้านเกิด ทำให้ชุมชนอ่อนแอไปเรื่อย ๆ ต้องหาทางให้คนกลุ่มนี้กลับมา ซึ่งยากเพราะแต่ละคนมีภารกิจหน้าที่ต้องดูแลครอบครัว

เพราะฉะนั้นจึงต้องทำให้คนกลุ่มที่ 2 และ3 ที่อยู่ในพื้นที่ให้เก่งให้ได้ กลุ่มที่ 3 คือฐานล่างที่สุด  เพราะมีการเรียนรู้ช้า ต้องใช้เวลาในการพูดคุย หรือทำงานมากกว่ามาตรฐานคนปกติ 3 เท่า จึงจะสามารถขยับตัวขึ้นมาเป็นคนกลุ่มที่ 2 ได้ และทำให้คนกลุ่มที่ 2 พัฒนาเป็นคนกลุ่มที่ 1  แต่ก็อยากให้คนกลุ่มที่ 1 ที่เคยออกจากพื้นที่ กลับมาเยี่ยมเยียนบ้าน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนในพื้นที่แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว


“อีก 10 ปีข้างหน้าหมู่บ้านนี้จะมีองค์ประกอบทุกอย่างพร้อม เราต้องการเด็กที่เก่งเรื่องการเงินสักคนหนึ่งมาบริหารจัดการเรื่องธนาคาร อยากได้ผู้จัดการมินิมาร์ทสักคนหนึ่งมาบริหาร เงินเดือนเพียง 7-8 พันบาทก็อยู่ได้ อยากได้วิศวกรโรงงานสักคนหนึ่ง กินเงินเดือนสักหมื่นมาอยู่ที่โรงงาน สิ่งเหล่านี้ได้วางแผนไว้แล้ว แต่ต้องใช้เวลาต่อไป เพราะเป็นงานพัฒนาคน สร้างคนรุ่นใหม่จากชุมชน ส่งเสริมการศึกษาซึ่งได้มีการวางแผนกันไว้แล้วว่าคนไหนจะไปอยู่จุดไหน” ผู้นำชุมชนบอกถึงทิศทางการพัฒนาชุมชน

วันนี้เราต้องให้ความสำคัญกับชุมชนฐานล่างให้มากขึ้น ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลลัพธ์ ควรมีศูนย์การเรียนรู้ทั่วประเทศไทย เพราะศูนย์การเรียนรู้มีค่า เราจึงเปิดมหาวิทยาลัยที่สอนหลายสิ่งหลายอย่าง อย่างเช่น วิชาส้มตำก็สอนให้ฟรี ถ้าเขากลับไปปลูกมะละกอสัก 5 ต้นก็คุ้มแล้ว สอนทุกเรื่องที่อยากรู้ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใครอีก

“ยายทำสวนปลูกหลายอย่าง เช่น ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะปราง ส้มโอ กระท้อน เป็นไร่นาสวนผสม ใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและสารเคมี แต่ตอนนี้ไม่ได้ใช้แล้ว ใช้ปุ๋ยหมักสบายใจกว่า ทำเกษตรแบบพอเพียง ถ้าเรารู้จักพอก็รวยแล้วทุกวันนี้ต้นทุนการผลิตลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนี้ก็มีเงินเหลือฝากธนาคารมากขึ้น อาทิตย์ละ 500 บาท แค่นี้ก็พอใจแล้ว” ยายอุทัย รัตนพงศ์ ประธานกลุ่มเกษตรกรพื้นบ้านบอกเล่า



ปัจจุบันบ้านจำรุงมีทุนทางสังคม ที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องของการพึ่งพาตนเองมากว่า 20 ปีเต็ม มีกลุ่มกิจกรรมมากกว่า 20 กลุ่ม มีประสบการณ์ต่าง ๆ มีบุคลากรที่มีความเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีองค์ความรู้ในตัวเอง มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีประเพณีวัฒนธรรม และมีสื่อทางเลือกในการสื่อสารของตนเอง….เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่น่าชื่นชม.

http://easylife2.wordpress.com/2008/08/28/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9E/




วีดีโอ อยู่อย่างพอเพียง เเบบพ่อบุญเต็ม



http://www.youtube.com/watch?v=yJzJvXH3iUg&feature=related

วีดีโอ ยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่




http://www.youtube.com/watch?v=M-2PmygKK0I

บทความ


เมืองน่าอยู่
โดย ปรีดิ์ บุรณศิริ
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลพวงด้านหนึ่งจากการเติบโตของเมืองที่ไร้ระเบียบ และอีกด้านหนึ่งเกิดจากการ
พัฒนาเศรษฐกิจในอดีต ที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดหาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ในกระบวนการผลิตและรูปแบบของการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ทำให้ทรัพยากรอันจำกัด
ของประเทศและสิ่งแวดล้อม ถูกใช้สอยและทำลายเสื่อมสภาพทั้งปริมาณและคุณภาพ
จนเกือบหมดศักยภาพและยากที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่

        ในศตวรรษที่ 21 ประเทศไทย (เช่นเดียวกับหลายๆประเทศ) เริ่มให้ความสำคัญ
กับแนวทางการพัฒนาเมืองแนวใหม่ คือการพัฒนาเมืองใหม่ให้น่าอยู่อย่างยังยืน อันเป็นแนว
นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาพื้นที่เมืองเพราะการพัฒนาในแนว
ทางนี้จะต้องมีการดำเนินงานที่ประสานและสนับสนุนสอดคล้องซึ่งกันและกันในหลาย ๆด้าน
และหลายสาขาพร้อม ๆ กันอย่างมีระบบเป็นเชิงองค์รวม (Holistic Approach) คือ
กระบวนการพัฒนาที่มีการวางกรอบวิสัยทัศน์ และแนวทางพัฒนาที่สอดคล้องต้องกัน
ทั้งในด้านประชากรทรัพยากร สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมอื่นๆทาง
กายภาพที่สร้างขึ้น(Built Environment) ทรัพยากรด้านศิลปะวัฒนธรรม ความรู้และ
วิทยากรสมัยใหม่
 โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูและ
พัฒนาทรัพยากรที่สร้างทดแทนใหม่ได้ และมีการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เสริมสร้างจิตวิญญาณและคุณค่าของเมือง
ด้วยการให้ความสำคัญต่อการดำรงรักษาฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมที่ดีงามเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น เปิดโอกาสให้
ท้องถิ่นเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาเพื่อยกระดับศักยภาพของตนเอง เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันแรงกดดันของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ที่เป็นผลของการจัดระเบียบใหม่ของโลกการค้าและเทคโนโลยี โดยมีกรอบกลยุทธ์เพื่อไปสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

           สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานราชการแรกที่มีบทบาทในเรื่องเมืองน่าอยู่ เนื่องจากกระทรวง
สาธารณะสุข ได้นำแนวความคิดเรื่องการส่งเสริมสุขภาพประชากรรวมเข้ากับเมืองแห่งสุขภาพตามข้อเสนอแนะ
ขององค์การอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป ซึ่งได้จัดการประชุมขึ้นที่เมืองอิสตันบลู ประเทศตุรกี พ.ศ. ……….มากำหนดเป็นแผน
ปฏิบัติงาน โดยเชื่อมโยงสุขภาพคนเข้ากับเมืองแห่งสุขภาพ

           ในระยะเวลาต่อมารัฐบาลมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงาน
หน่วยงานทั้งหลายที่ทำเรื่องเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ไม่ว่าจะเป็นชุมชนในเมืองหรือชุมชนในชนบท ให้สามารถอาศัยอยู่ได้อย่างเท่าเทียมกัน มีความสะดวกสบาย สะอาดถูกสุขลักษณะ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและอย่างเกื้อกูลกันกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม

ลักษณะสำคัญของเมืองน่าอยู่
           ลักษณะสำคัญของเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่นั้น จะถูกผสมผสานอยู่ในเรื่องราวต่างๆ 5 ด้าน ด้วยกันกล่าวคือ

1.ด้านสังคม เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ควรมีสังคมที่
- ประชาชนได้รับการศึกษา รู้เท่าทันข่าวสาร
- มีบริการด้านสุขภาพและบริการที่จำเป็นอย่างพอเพียงและสะดวก
- มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- มีคดีอาชญากรรม ยาเสพติดจำนวนน้อย
- ทุกคน ทุกฝ่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง
- สิทธิของประชาชนได้รับการคุ้มครอง

2.ด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมของเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ควรมีลักษณะ
- สามารถควบคุมของเสียในดิน ในน้ำ และในอากาศได้ และต้องไม่มีเสียงดังเกินไป
- เป็นเมืองที่ประชาชนมีจิตสำนึกและความภูมิใจในประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่น
- ประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานและราคาไม่แพง

3.ด้านเศรษฐกิจ ภายในเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ควรมี
- บรรยากาศที่ดีสำหรับการทำมาค้าขายและการลงทุน
- ค่าครองชีพไม่แพงและประชาชนมีงานทำ

4.ด้านกายภาพ เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ควรมีสภาพ
- เป็นเมืองที่มีระเบียบ มีการจัดสรรการใช้ที่ดินที่เหมาะสม
- มีบริการของภาครัฐ เช่น น้ำ ไฟ ถนน โทรศัพท์ อย่างเพียงพอต่อความต้องการ
- มีการเดินทางขนส่งที่สะดวก ปลอดภัย และไม่สิ้นเปลือง
- มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- มีระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะอย่างเหมาะสม

5.ด้านการบริการจัดการ เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ควร
- มีความโปร่งใสและยุติธรรม
- มีประสิทธิภาพและยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกๆขั้นตอน

การพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน
          ภายหลังเมื่อรัฐบาลได้มอบหมายให้สภาพัฒน์ฯรวบรวมหน่วยงานที่ดำเนินการนโยบาย
เกี่ยวข้องกับเมืองน่าอยู่ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อที่จะกำหนด
กรอบและแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาให้เกิดเมืองน่าอยู่ขึ้นในประเทศ โดยกรอบดังกล่าวกำหนด
แนวทางไว้ 4 ประการ ได้แก่

ประการที่ 1 ประชาชนต้องอยู่ในเมืองนั้นด้วยความผาสุข
ประการที่ 2 เมืองจะต้องมีบริการพื้นฐานที่สะดวกสบายพอเพียงและทันต่อเวลา
ประการที่ 3 ประชาชนต้องมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ
ประการที่ 4 มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

       จากแนวความคิดและองค์ประกอบในการสร้างเมืองให้น่าอยู่ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น
หลายฝ่ายก็มักเกิดคำถามตามมาว่า ในเมื่อมีแนวทางแล้ว ทำอย่างไรถึงจะสามารถสร้าง
ความน่าอยู่ให้เกิดขึ้นกับเมืองได้ ดังนั้นคณะทำงานฯจึงนำเสนอแนวคิดของการจัด
โครงสร้างเพื่อนำไปสู่เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนไว้ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 ว่าด้วยนโยบายและวิสัยทัศน์ของเมือง ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็กจนถึงเมืองใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารของเมืองจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์นโยบายว่า อยากที่จะให้เมืองของท่านเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างไร โดยในการกำหนดนโยบายเพื่อให้ได้มาซึ่งวิสัยทัศน์ที่ดีของเมืองนั้น ในขั้นต้นผู้บริหารพึงกำหนดให้มีแผนพัฒนาภาค แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาชุมชน แผนพัฒนาที่อยู่อาศัย แผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม เหล่านี้เป็นต้น และเมื่อมีแผนพัฒนาต่างๆเหล่านี้แล้ว ท้องถิ่นจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่จะช่วยให้แผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมให้ได้ ฉะนั้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นกฎหมายที่สอดรับกับนโยบายของท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น โดยกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติผังเมืองและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ในขณะที่กฎหมายฉบับที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นสามารถระดมความคิด ถือเป็นเครื่องมือที่ดีได้ เช่น พระราชบัญญัติการจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนา เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 2 เมื่อมีนโยบายมีวิสัยทัศน์แล้ว การที่จะให้เป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์นั้นได้ จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรบริหารจัดการ ซึ่งก็คือ องค์กรบริหารส่วนตำบล เทศบาลหรือเทศบาลนครนั่นเอง องค์กรเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นส่วนบริหารอบต. หรือว่าองค์กรในระดับรัฐบาลจะมีการรายงานมาเป็นลำดับขั้น ซึ่งในที่นี้ถือว่าการดำเนินการต่าง ๆ ต้องเป็นไปตามกรอบที่รัฐบาลกำหนด แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีองค์กรอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า "องค์กรมหาชน" หรืออาจจะเป็นในรูปของบรรษัทพัฒนาเมือง หรือบรรษัทพัฒนาพื้นที่ มาเป็นเครื่องมือ โดยที่การวิเคราะห์ใช้เครื่องมือเหล่านี้ต้องมองเรื่องผลตอบแทนในเชิงพาณิชย์ด้วยเสมือนหนึ่งเป็นบริษัทเอกชน แต่ว่าเป็นของรัฐ ตัวอย่างขององค์กรพัฒนาเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น การเคหะแห่งชาติ การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้า ฯลฯ ในที่สุดแล้ว ท้องถิ่นจะสามารถมีองค์กรพัฒนาได้เหมือนกัน บทบาทในการพัฒนาพื้นที่ของตน อาจจะได้รับความร่วมมือจากคนในท้องถิ่นหรือว่าร่วมระดมทุนกับภาคเอกชน ก็ได้

องค์ประกอบที่ 3 ที่สำคัญที่สุดเมื่อมีนโยบายและมีรูปแบบการเป็นเมืองที่น่าอยู่แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ เรื่องของเงิน เราพบว่าการระดมทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานของเมืองนั้น จะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะการระดมทุนของท้องถิ่นในรูปแบบของการจัดเก็บภาษี เพราะในแนวความคิดเรื่องเมืองน่าอยู่นั้น ชุมชนใดต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือสาธารณูปโภค-สาธารณูปการใด ท้องถิ่นนั้นก็จะต้องจ่ายเพื่อความสะดวกสบายเหล่านั้น เช่น ชุมชนแต่ละแห่งก็มีความต้องการถนนเพื่อเข้าสู่ชุมชนแตกต่างกัน ในพื้นที่เมืองอาจต้องการถนนขนาดใหญ่ที่แข็งแรง ในขณะที่ชุมชนชนบท ต้องการเพียงถนนทางเข้าหมู่บ้านเล็กๆ ฉะนั้นโครงสร้างการจัดเก็บภาษีของคนเมืองย่อมต้องสูงกว่าในชนบท เพราะผลตอบแทนที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ในสาธารณูปโภคต่างกัน แต่จากการศึกษาพบว่า การลงทุนเพื่อการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละจังหวัดของภูมิภาคท้องถิ่นเองสามารถระดมทุนได้เพียงร้อยละ 7 ของงบที่จะต้องใช้พัฒนาทั้งหมด ในขณะที่องค์กรบริหารส่วนกลางจากรัฐบาล เช่น กรมชลประทานหรือว่ากรมทางหลวงนำเงินจากส่วนกลางไปลงทุนในท้องถิ่น ประมาณร้อยละ 20 นอกจากนั้น ประมาณร้อยละ 66 เป็นการลงทุนที่รัฐบาลส่วนกลาง ให้รัฐวิสาหกิจนำเงินจากภาครัฐไปลงทุนในท้องถิ่น ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า ทรัพยากรทางการเงินของท้องถิ่นอ่อนแอมาก ท้องถิ่นจะเข้มแข็งได้ด้วยการมีวิสัยทัศน์ มีองค์กรที่ดี แต่ว่าขาดเงินจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

         แนวความคิดและองค์ประกอบดังกล่าว จึงเป็นการสร้างภาพในอนาคตอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้นโยบายเรื่องเมืองน่าอยู่เป็นรูปธรรม
ที่ชัดเจนได้ หากทุกคนและทุกฝ่ายมีแนวทางการปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ความสำคัญในการสร้างเมืองน่าอยู่นั้นใช่ว่าต้องการ
เพียงสร้างเมืองให้มีรูปแบบที่สวยงาม หรือเห็นและสัมผัสได้เพียงภายนอกเท่านั้น แต่โดยหลักการแล้วเมืองน่าอยู่ จะต้องสามารถ
ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งในเมืองและชนบท ให้สามารถใช้ชีวิตความเป็นอยู่ที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิต
ตลอดจนยกระดับความรู้สึกที่จะร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนที่อยู่ให้ดีขึ้น เพราะท้ายสุดแล้วเมืองน่าอยู่ก็คือ
เมืองที่ประชาชนมีชีวิตอยู่ด้วยความผาสุก"นั่นเอง







http://sawasdee.bu.ac.th/article/sgl440702.htm