วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

แนวทางการดำเนินงานภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ “พัฒนาชุมชนน่าอยู่ เมืองน่าอยู่” ปีงบประมาณ 2552    ศูนย์อนามัยที่ 7
                  
สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการมีสุขภาพดี   กระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญกับการจัดการสภาพแวดล้อมให้สะอาด ปลอดภัย เริ่มจากหน่วยเล็กที่สุดคือบ้านและขยายเป็นชุมชนและสังคมโดยรวม  เพื่อให้เมืองไทยเป็นเมืองน่าอยู่  ผู้คนสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ  โดยใช้แนวทางการสร้างพลังความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะเทศบาล  การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้เกิดจิตสำนึกสาธารณะร่วมรับผิดชอบ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นของตน และการใช้กฎหมายสาธารณสุขเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนและสร้างความเป็นระเบียบในสังคม
กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข  เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้นำแนวคิดเมืองน่าอยู่(Healthy City) ขององค์การอนามัยโลก  มาใช้พัฒนาเขตเมืองในปี 2537  โดยได้ร่วมดำเนินการกับกรุงเทพมหานคร  ปี 2539 ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก ดำเนินงานโครงการเมืองน่าอยู่ขยายผลใน 5 พื้นที่นำร่อง      ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง  โดยเฉพาะกิจกรรมการขยายแนวคิดเมืองน่าอยู่สู่วงกว้าง  เกิดรูปธรรมในการรักษาความสะอาด  จัดการสิ่งแวดล้อม  เช่น  ขยะ  น้ำเสีย  เมืองน่าอยู่  จึงเป็นการวางพื้นฐานแนวคิดเรื่องการสุขภาวะและวิธีการทำงานร่วมกันในลักษณะเป็นภาคีระหว่างภาครัฐ  ประชาชน และเอกชน
การดำเนินงานดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่ (Approach) ประชาชนที่มีสุขภาพดี (Good Health) ตามกลุ่มอายุ   และการจัดการสภาวะแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่  ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย (Healthy Setting)  ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย(Healthy Family)  โรงเรียน(Healthy School)  โรงพยาบาล(Healthy Hospital)  สถานที่ทำงาน(Healthy Workplace)  และชุมชน(Healthy Cities)  ด้วยการสนับสนุนร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำโครงการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในสถานที่ดังกล่าว       โดยอาศัยข้อกำหนดของท้องถิ่น  และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข  ตลอดจนแนวทางการดำเนินงาน  “เมืองน่าอยู่”  เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ในปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทและเป็นกลไกที่สำคัญต่อการดำเนินงาน ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  ทั้งในอำนาจหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ดังนั้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพและขีดความสามารถเพียงพอ         กลไกดังกล่าวจะเป็นแนวทางที่สำคัญในการสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในปี 2551  ซึ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นตามสภาพปัญหาและความพร้อมของท้องถิ่น ได้สร้างความเข้าใจให้กับทั้งผู้บริหารท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องถึงบทบาทหน้าที่ของกรมอนามัยต่อการดำเนินงานในท้องถิ่น  อีกทั้งในรอบปีงบประมาณ 2551  ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ร่วมมือกันในการสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่น อาทิ ความร่วมมือกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ปรากฏเป็นรูปธรรมในหลายเรื่อง อาทิการสนับสนุนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้เป็นศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่  ความร่วมมือในการส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหาร การสนับสนุนการพัฒนาส้วมสาธารณะ เป็นต้น  ความร่วมมือดังกล่าวส่งผลต่อการดำเนินงานของท้องถิ่นเป็นอย่างมาก  ในปีงบประมาณ 2552 กรมอนามัยจะได้ยึดแนวทางที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปีงบประมาณ 2551 นั่นคือการสนับสนุนการศักยภาพของท้องถิ่นในการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ องค์การบริหารส่วนตำบล และได้กำหนดความสำเร็จของกรมอนามัย ในการสนับสนุนให้ท้องถิ่นระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล สามารถดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ เป็นเป้าหมายความสำเร็จของกรมอนามัย
         
 วิสัยทัศน์     
       “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับสามารถดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามบทบาทหน้าที่  และบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข และสามารถพัฒนาและแก้ปัญหาด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิผล”
   
 วัตถุประสงค์
   
              เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งระดับเทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล  สามารถพัฒนางานด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐานในท้องถิ่นของตนเอง  โดยใช้กลยุทธ์ เมืองน่าอยู่เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ปัญหาพื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  ได้แก่
-          การดำเนินงานด้านความปลอดภัยอาหารและน้ำ
-          การจัดการของเสียชุมชนที่มีประสิทธิภาพ
-          การใช้มาตรการด้านกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
    
    เป้าหมายการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2552
    
 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านเกณฑ์กระบวนการเมืองน่าอยู่
1.    ระดับเทศบาล  ร้อยละ 78
2.    ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล  ร้อยละ 10

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสัมฤทธิผลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  ระดับที่ 1
1.    ระดับเทศบาล  ร้อยละ 40
2.    ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล  ร้อยละ 5

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสัมฤทธิผลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ระดับที่ 2   (ผ่านเกณฑ์ความสำเร็จ 4 เรื่อง)
1.   ระดับเทศบาล  ร้อยละ 10
2. ระกับองค์การบริหารส่วนตำบล (ไม่มีเป้าหมาย)

การวัดสัมฤทธิผลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  ด้วยท้องถิ่นได้รับผลจากนโยบายการกระจาย-อำนาจและเป็นผู้ใกล้ชิดกับปัญหาของชุมชน  มีหน้าที่โดยตรงในการตอบสนองและแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  ซึ่งท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ  ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข  พ.ศ.2535  ประกอบกับการดำเนินงานที่ผ่านมา  กรมอนามัยมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของท้องถิ่นในด้านต่างๆ  จะเห็นได้จากผลสำเร็จที่ท้องถิ่นได้ดำเนินงานมาโดยลำดับ  ดังนั้นเพื่อให้แนวคิดการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาพื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเห็นชัดอย่างเป็นรูปธรรม  และเห็นความสำเร็จในแต่ละท้องถิ่น  จึงได้กำหนดประเด็นสำคัญของปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน 3 ประเด็น  ได้แก่
1.      ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ  โดยมีเป้าประสงค์ที่จะให้สถานที่จำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน  ได้แก่
1.1  การพัฒนาตลาดสดประเภทที่ 1 ให้ได้มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ
1.2  การพัฒนาร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐาน
1.3  ชุมชนมีระบบประปาที่ได้มาตรฐานประปาดื่มได้
2.   การจัดการของเสียชุมชน  โดยมีเป้าประสงค์ที่จะให้ท้องถิ่นมีการจัดการมูลฝอยทั่วไป  มูลฝอยติดเชื้อและการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ได้มาตรฐาน  ได้แก่
2.1  การมีระบบการจัดการมูลฝอยของท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน
2.2  การมีส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐาน
2.3  การมีระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ได้มาตรฐาน
3.   การใช้มาตรการด้านกฎหมาย  ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข  พ.ศ.2535          โดยมีเป้าประสงค์ให้ท้องถิ่นดำเนินการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งในแง่การออกข้อบังคับและการนำไปปฏิบัติ  ได้แก่
3.1  การส่งเสริมการออกเทศบัญญัติ / ข้อบัญญัติท้องถิ่น 
3.2  การดำเนินการด้านเหตุรำคาญ
ทั้ง 3 ประเด็น  8 เรื่องย่อยดังกล่าวเป็นปัญหาที่ดำรงอยู่ในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่และ  เป็นนโยบายสำคัญในระดับประเทศที่ต้องการเห็นผลสำเร็จ  และในแต่ละท้องถิ่นมองเห็นและตอบสนองกับปัญหาดังกล่าวแตกต่างกัน  ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับความพร้อมและการกำหนดนโยบายแต่ละท้องถิ่นในปัญหาพื้นฐานดังกล่าว  จึงได้กำหนดการวัดสัมฤทธิผล ทั้ง 8 เรื่อง โดยจัดระดับของท้องถิ่นที่มีผลสัมฤทธิ์อย่างน้อย 2 เรื่อง ใน 8 เรื่องดังกล่าว  เป็นระดับที่ 1 หากมีความสำเร็จ 4 เรื่อง จัดให้เป็นลำดับที่ 2  หากดำเนินการได้ 6 เรื่องเป็นระดับที่ 3  และดำเนินการได้ครบทุกเรื่องจะนับเป็นระดับที่ 4  ซึ่งการดำเนินการขึ้นอยู่กับความพร้อมและปัญหาของท้องถิ่นเป็นสำคัญ
 อนึ่งเพื่อให้เกิดชุมชนน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ครอบคลุมทุก Setting มากยิ่งขึ้น ศูนย์อนามัยที่ 7 จึงได้กำหนดสัมฤทธิผลเพิ่มเติมอีก 1 ประเด็น 3 เรื่องได้แก่ เกณฑ์การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
3.1 ศูนย์เด็กเล็กผ่านเกณฑ์ศูนย์เด็กน่าอยู่ระดับดีและดีมากร้อยละ 65
3.2 เทศบาล/อบต.ผ่านเกณฑ์สถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงานระดับดีมาก
 3.3 สวนสาธารณะผ่านเกณฑ์สวนสาธารณะน่ารื่นรมย์อย่างน้อย 1 แห่ง
                  โดยหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดสามารถดำเนินการผ่านสัมฤทธิผลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทั้ง 8 เรื่อง และผ่านเกณฑ์การจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ทั้ง 3 เรื่องจะได้รับการประกาศให้เป็น ชุมชนน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ ระดับทอง
                 แผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชนน่าอยู่เมืองน่าอยู่
ศูนย์อนามัยที่ 7  ปี 2552

                 จากผลการดำเนินงานปี 2551 ที่ผ่านมา การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชุมชนน่าอยู่เมืองน่าอยู่ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากภาคีเครือข่ายทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้เทศบาลผ่านเกณฑ์กระบวนการร้อยละ 84.61  และอบต.ร้อยละ 10.26 และเทศบาลมีสัมฤทธิผลระดับ 1 ร้อยละ 69.23  อบต.มีสัมฤทธิผลระดับ 1 ร้อยละ 2.03 ดังนั้นเพื่อการขับเคลื่อนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง งานอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการในปี 2552 ดังนี้

งาน/โครงการหลัก
   
1. การเสริมสร้างภาคีเครือข่ายและศักยภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                   - ประชุมสัมมนาผู้บริหารท้องถิ่น
                   - ประกวดผลงานองค์การบริหารส่วนตำบลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
                   - ประชุมวิชาการท้องถิ่นน่าอยู่ระดับภาค
                   - ส่งเสริมการจัดตั้งเครือข่ายท้องถิ่นน่าอยู่
                   - พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
                   - สร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของภาคประชาชน
2. การจัดการของเสียชุมชน
2.1 การพัฒนาส้วมสาธารณะไทย
     - รณรงค์ล้างส้วมพร้อมกันวันสงกรานต์
     - ประกวดสุดยอดส้วมปี 2552
    -  การประเมินสถานการณ์ส้วมสาธารณะ
2.2  การพัฒนาการจัดการสิ่งปฏิกูล
       - ศึกษาวิจัยรูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสมในพื้นที่ อปท.ขนาดเล็ก
2.3  การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
2.4  การจัดการมูลฝอยทั่วไป
       - ส่งเสริมการจัดการมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิด ใน อบต.โดยเทคนิค 3Rs
3.  การดำเนินงานกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3.1 การจัดการเหตุรำคาญและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
       - จัดตั้งหน่วยปฏิบัติงานเพื่อการจัดการเหตุรำคาญของศูนย์อนามัย
        - การพัฒนาทีม การจัดการเหตุรำคาญ
        - ศึกษาระบบการจัดการเหตุรำคาญ
       - การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานแต่งผมเสริมสวย สถานที่พักแรม
        - การส่งเสริมให้ท้องถิ่นรับรองมาตรฐานโดยท้องถิ่น ภายใต้มาตรฐานกรมอนามัย    
4. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมสถานที่และสถานบริการสาธารณะ
          4.1 ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่
                     - การประกวดศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ระดับประเทศ
                       - การตรวจประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่
                       - พัฒนาฐานข้อมูลศูนย์เด็กเล็ก
                       - ส่งเสริมให้ท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก
          4.1 โรงพยาบาล “การสุขาภิบาลและความปลอดภัยในโรงพยาบาล”
                 - พัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบด้านสุขาภิบาลและความปลอดภัย
          4.2  แหล่งท่องเที่ยว
                      - ตรวจประเมินรับรองอุทยานแห่งชาติ
          4.3 สนับสนุนการดำเนินงานวัด/โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
                      - พัฒนาต้นแบบ “อนามัยสิ่งแวดล้อมในวัด”
          4.4 การสุขาภิบาลในบ้านเรือน (Housing Sanitation)
5. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมจากมลพิษและปัญหาอุบัติใหม่
          - ศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากปัญหาการใช้สารเคมีในครัวเรือน
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมกรณีสาธารณภัยและพื้นที่พิเศษ
          - จัดตั้งหน่วยปฏิบัติงานเฉพาะกิจด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
          -  การฝึกอบรมอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่
7. ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
          7.1 ร้านอาหาร/แผงลอยได้มาตรฐาน อาหารสะอาดรสชาติอร่อย(Clean Food Good Test )
          7.2 ตลาดสดน่าซื้อ
          7.3 ระบบประปาผ่านเกณฑ์น้ำประปาดื่มได้
               - พัฒนาระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
      
 2. ยุทธศาสตร์ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
            วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ ชุมชน ภาคีเครือข่าย เกิดความตระหนักและนำผลการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพไปสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายและมาตรการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน

       งาน/โครงการหลัก
1.      สร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อดำเนินงาน HIA
2.      สร้างระบบเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมชุมชน
    
      งานอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 7
    
              ตามที่ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี ได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร จึงได้กำหนดให้มีงานอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อรับผิดชอบงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและยุทธศาสตร์ของกรมอนามัย โดยมีนักวิชาการที่ปฏิบัติงานที่งานอนามัยท้องถิ่นจำนวน 9 คน เนื่องจากมีภาระงานจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้งานสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชนน่าอยู่เมืองน่าอยู่และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำงานเป็นทีม พร้อมทั้งเข้าใจบริบทของภาคีจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล งานอนามัยท้องถิ่นจึงได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบของนักวิชาการในปี 2552 ดังนี้

หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม
      นางไฉไล ช่างดำ                       ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ระดับชำนาญการพิเศษ
1. ชุมชนน่าอยู่เมืองน่าอยู่
      1.1. ชุมชนน่าอยู่เมืองน่าอยู่
            นางไฉไล ช่างดำ                           ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ระดับชำนาญการพิเศษ
             นางจุรีภรณ์ คูณแก้ว           ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ
      1.2. การจัดการของเสียชุมชน
             นางจุรีภรณ์ คูณแก้ว           ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ
             นางสาวเทียมดาว ทองโกฏิ    ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญการ
      1.3 สถานที่และสถานบริการสาธารณะ
            นางสาวเยาวธิดา วันสิงห์สู่      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ
            นางวรุณสิริ ปทุมวัน             ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ
       1.4 งานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมกรณีสาธารณภัยและพื้นที่พิเศษและอุบัติใหม่
               นางวรุณสิริ ปทุมวัน          ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ                                   นายบุญเกิด เชื้อธรรม    ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ





  http://hpc7.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=370&filename=index

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น